ทำไมเด็กไทยอ่อนเลข... หลายคนอาจจะเถียงว่า ไม่จริง
เพราะแต่ละปีมีเด็กไทยได้เหรียญทอง
คงต้องยอมรับว่า เด็กไทยที่ชนะคณิตศาสตร์โอลิมปิกหากเทียบเปอร์เซ็นต์กับเด็กไทยทั่วประเทศแล้วมีจำนวนน้อยมาก อาจจะแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ หรือน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำ มิหนำซ้ำ คะแนนทดสอบการประเมินนานาชาติตามโครงการ PISA (Programme for International Student Assessment) และ TIMSS (Trends in International Mathematics and Science Study) คะแนนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ไทยก็ต่ำลงไปเรื่อยๆ ตรงข้ามกับบางประเทศ อย่าง จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
อะไรที่เป็นปัญหาทำให้การเรียนรู้ของเด็กไทย โดยรวมโดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ถึงไม่เก่ง ทั้งๆ ที่วิชาคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของการคิดค้นนวัตกรรมทั้งปวง เราต้องยอมรับว่าในหลายประเทศที่พัฒนาไปไกลมากเกิดจากกระบวนการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมของคนในชาตินั้น
ตอนเด็กผู้เขียนเองก็ไม่สนใจและไม่ค่อยชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แม้ก่อนหน้านั้นจะชื่นชอบการบวกเลขจากการเล่นไพ่สนุกๆ กับเพื่อนๆ แต่ด้วยเป็นการพนันทำให้ถูกห้ามไปโดยปริยายคิดเอาแบบเข้าข้างตัวเองว่า ถ้าแม่ปล่อยให้เล่นไพ่ต่อไปคงเก่งเลขหรือไม่อีกที ก็อาจเป็นนักพนันไปเลย
คำตอบว่าทำไมเด็กไทยไม่เก่งคณิตศาสตร์ มาถึงบางอ้อ เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางด้านคณิตศาสตร์ศึกษา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ (CEM)
ปัญหาการศึกษาไทยเป็นเรื่องที่ซับซ้อนแม้ว่าจะพยายามแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษามานานสองรอบตั้งแต่ปี 2542 และทุ่มงบประมาณไปแล้วรวมกว่า 4 แสนล้านบาท แต่ก็ยังไม่มีใครเห็นปัญหา หรือคลำทางหาทางออกได้อย่างจริงจัง
อาจารย์บอกว่า "ปัญหาของไทยเหมือนอเมริกาปี 1980 ที่เขามีปัญหาเรื่องคะแนนสอบคณิตศาสตร์รั้งท้ายประเทศในแถบเอเชีย จนต้องหันกลับมาดูระบบเกิดอะไรขึ้น ด้วยการเข้ามาศึกษาวิธีการเรียนการสอนของหลายประเทศที่ได้คะแนนดีๆ"
เด็กไทยไม่เก่งคณิตศาสตร์ ปัญหาเริ่มตั้งแต่วิธีการเรียนการสอนของครู หลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการที่ไม่เน้นการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา ส่วนครูเองก็ไม่มีระบบพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่องไปตลอดหลังจากที่จบวิชาชีพครูในระดับชั้นปริญญาตรีแล้ว
" เราปล่อยให้ครูพัฒนาตัวเองหลังจบปริญญาตรี ไม่มีระบบที่จะพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง"
ปัญหาเรื่องครูอาจจะเป็นปัญหาหนึ่ง เมื่อกระบวนการเรียนการสอนไม่ได้พัฒนาตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้การเรียนรู้ของเด็กๆ สะดุดไม่พัฒนาไปด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกจากนั้นแล้วยังรวมไปถึงหลักสูตร ที่เดิมการเรียนคณิตศาสตร์ของไทย ไม่มีแนวทางการเรียนที่เข้าใกล้ชีวิตจริงและไม่ได้เน้นการเผชิญปัญหาให้กับเด็กได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา แต่จะเน้นการสอบแบบครูบอก และตอบคำถาม แต่เด็กไม่สามารถสร้างวิธีคิดค้นหาคำตอบได้เลย
วิธีการเรียนการสอบแบบใหม่ที่ ดร.ไมตรี บอกและเริ่มทดลองในโรงเรียนเล็กในพื้นที่ จ.ขอนแก่น 22 โรงเรียน คือ การเน้นใน 3 ส่วน เนื้อหาสาระ, กระบวนการเรียนรู้, คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ด้วยแนวทางการสอบแบบเผชิญปัญหาของเด็กนักเรียน โดยให้ครูเป็นเพียงแค่ที่ปรึกษาไม่ใช่หาคำตอบให้
การเรียนการสอนแบบนี้ดึงเด็กออกจากโลกของหนังสือและการท่องสูตร แต่เขาจะแก้ไขปัญหาของพวกเขาอย่างมีระบบ อาจารย์บอกว่าหลังทดลองกับ 22 โรงเรียนปรากฏว่าคะแนนนักเรียนไกลปืนเที่ยงเหล่านั้นขึ้นมาเป็นที่หนึ่งของสำนักงานเขตการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน่าทึ่ง
คงต้องถึงเวลาแล้วที่ผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการ ที่พยายามหาคำตอบในการปฏิรูปการศึกษา ต้องลองหารือกับอาจารย์ไมตรี ว่าทำอย่างไรการปฏิรูปการศึกษาของไทยถึงจะเดินถูกทางซะที
อะไรที่เป็นปัญหาทำให้การเรียนรู้ของเด็กไทย โดยรวมโดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ถึงไม่เก่ง ทั้งๆ ที่วิชาคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของการคิดค้นนวัตกรรมทั้งปวง เราต้องยอมรับว่าในหลายประเทศที่พัฒนาไปไกลมากเกิดจากกระบวนการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมของคนในชาตินั้น
ตอนเด็กผู้เขียนเองก็ไม่สนใจและไม่ค่อยชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แม้ก่อนหน้านั้นจะชื่นชอบการบวกเลขจากการเล่นไพ่สนุกๆ กับเพื่อนๆ แต่ด้วยเป็นการพนันทำให้ถูกห้ามไปโดยปริยายคิดเอาแบบเข้าข้างตัวเองว่า ถ้าแม่ปล่อยให้เล่นไพ่ต่อไปคงเก่งเลขหรือไม่อีกที ก็อาจเป็นนักพนันไปเลย
คำตอบว่าทำไมเด็กไทยไม่เก่งคณิตศาสตร์ มาถึงบางอ้อ เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางด้านคณิตศาสตร์ศึกษา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ (CEM)
ปัญหาการศึกษาไทยเป็นเรื่องที่ซับซ้อนแม้ว่าจะพยายามแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษามานานสองรอบตั้งแต่ปี 2542 และทุ่มงบประมาณไปแล้วรวมกว่า 4 แสนล้านบาท แต่ก็ยังไม่มีใครเห็นปัญหา หรือคลำทางหาทางออกได้อย่างจริงจัง
อาจารย์บอกว่า "ปัญหาของไทยเหมือนอเมริกาปี 1980 ที่เขามีปัญหาเรื่องคะแนนสอบคณิตศาสตร์รั้งท้ายประเทศในแถบเอเชีย จนต้องหันกลับมาดูระบบเกิดอะไรขึ้น ด้วยการเข้ามาศึกษาวิธีการเรียนการสอนของหลายประเทศที่ได้คะแนนดีๆ"
เด็กไทยไม่เก่งคณิตศาสตร์ ปัญหาเริ่มตั้งแต่วิธีการเรียนการสอนของครู หลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการที่ไม่เน้นการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา ส่วนครูเองก็ไม่มีระบบพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่องไปตลอดหลังจากที่จบวิชาชีพครูในระดับชั้นปริญญาตรีแล้ว
" เราปล่อยให้ครูพัฒนาตัวเองหลังจบปริญญาตรี ไม่มีระบบที่จะพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง"
ปัญหาเรื่องครูอาจจะเป็นปัญหาหนึ่ง เมื่อกระบวนการเรียนการสอนไม่ได้พัฒนาตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้การเรียนรู้ของเด็กๆ สะดุดไม่พัฒนาไปด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกจากนั้นแล้วยังรวมไปถึงหลักสูตร ที่เดิมการเรียนคณิตศาสตร์ของไทย ไม่มีแนวทางการเรียนที่เข้าใกล้ชีวิตจริงและไม่ได้เน้นการเผชิญปัญหาให้กับเด็กได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา แต่จะเน้นการสอบแบบครูบอก และตอบคำถาม แต่เด็กไม่สามารถสร้างวิธีคิดค้นหาคำตอบได้เลย
วิธีการเรียนการสอบแบบใหม่ที่ ดร.ไมตรี บอกและเริ่มทดลองในโรงเรียนเล็กในพื้นที่ จ.ขอนแก่น 22 โรงเรียน คือ การเน้นใน 3 ส่วน เนื้อหาสาระ, กระบวนการเรียนรู้, คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ด้วยแนวทางการสอบแบบเผชิญปัญหาของเด็กนักเรียน โดยให้ครูเป็นเพียงแค่ที่ปรึกษาไม่ใช่หาคำตอบให้
การเรียนการสอนแบบนี้ดึงเด็กออกจากโลกของหนังสือและการท่องสูตร แต่เขาจะแก้ไขปัญหาของพวกเขาอย่างมีระบบ อาจารย์บอกว่าหลังทดลองกับ 22 โรงเรียนปรากฏว่าคะแนนนักเรียนไกลปืนเที่ยงเหล่านั้นขึ้นมาเป็นที่หนึ่งของสำนักงานเขตการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน่าทึ่ง
คงต้องถึงเวลาแล้วที่ผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการ ที่พยายามหาคำตอบในการปฏิรูปการศึกษา ต้องลองหารือกับอาจารย์ไมตรี ว่าทำอย่างไรการปฏิรูปการศึกษาของไทยถึงจะเดินถูกทางซะที
อ้างอิง : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/politic-view/20120827/467528/ทำไม...เด็กไทย-อ่อนคณิตศาสตร์.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น