วิจัยนร. ไทยอ่อน วิชาคณิต-วิทย์
น่าห่วงเด็กไทย อ่อนทั้งเลข และวิทย์ สสวท.เผยผลประเมิน TIMSS 2011 พบค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์ เด็ก ป.4 ของไทยติดกลุ่มบ๊วย อันดับ 34 จาก 52 ประเทศ ส่วนวิทยาศาสตร์ก็รั้งท้ายอยู่อันดับ 29 ขณะที่เด็กนักเรียนไทยชั้น ม.2 ยิ่งหนัก คะแนนประเมิน 2 วิชา รูดลงมาอยู่ที่โหล่ ตกต่ำลงกว่าปีก่อนๆ ตะลึงพบผลประเมินการสอนของแม่พิมพ์ไทยยังต่ำกว่าเกณฑ์ จี้โรงเรียนเร่งยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยด่วน
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่กระทรวงศึกษาธิการ นายปรีชาญ เดชศรี รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แถลงผลวิจัยการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ พ.ศ.2554 หรือ TIMSS 2011 ที่จัดโดย The International Association for the Evaluation of Educational Achievement หรือ IEA หน่วยงานประเมินคุณภาพด้านการศึกษานานาชาติ โดยระบุว่า ผลการวิจัยระดับชั้น ป.4 มี 52 ประเทศเข้าร่วม พบว่าเด็กไทยมีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 458 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 34 และวิทยาศาสตร์ 472 คะแนน อยู่อันดับที่ 29 โดยประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคณิตศาสตร์ คือสิงคโปร์ ส่วนวิทยาศาสตร์สูงสุด ได้แก่ เกาหลีใต้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในภาพรวม ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ (Fair)
รอง ผอ.สสวท.กล่าวอีกว่า เมื่อจำแนกค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน ตามรายสังกัดพบว่าโรงเรียนสาธิต มีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 540 คะแนน วิทยาศาสตร์ 562 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) คณิตศาสตร์ 502 คะแนน วิทยาศาสตร์ 522 คะแนน โรงเรียนเอกชน คณิตศาสตร์ 487 คะแนน วิทยาศาสตร์ 509 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น คณิตศาสตร์ 476 คะแนน วิทยาศาสตร์ 495 คะแนน และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คณิตศาสตร์ 446 คะแนน วิทยาศาสตร์ 456 คะแนน จึงเห็นได้ว่า โรงเรียนในสังกัด อปท. และ สพฐ.เกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ
ทั้งนี้ เมื่อดูภาพรวมของเด็กไทยในระดับชั้นป.4 วิชาคณิตศาสตร์เด็กไทยร้อยละ 88 มีความสามารถตั้งแต่ระดับที่ต่ำมากไปจนถึงระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 12 ที่ได้คะแนนอยู่ในระดับสูงถึงระดับก้าวหน้า ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์เด็กไทยร้อยละ 80 มีความสามารถตั้งแต่ระดับที่ต่ำมากไปจนถึงระดับปานกลาง และมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ที่มีคะแนนอยู่ในระดับสูงถึงระดับก้าวหน้า
สำหรับผลการประเมิน TIMSS 2011 ในส่วนของชั้น ม.2 นายปรีชาญ ระบุว่า มีประเทศที่เข้าร่วมประเมินทั้งสิ้น 45 ประเทศ ไทยมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ที่ 427 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 28 และวิทยาศาสตร์ 451 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 25 ขณะที่ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ เกาหลีใต้ ส่วนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สิงคโปร์ เมื่อพิจารณาในภาพรวม เด็ก ม.2ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในปีก่อนๆยังพบว่า เด็กไทยชั้น ม. 2 มีคะแนนเฉลี่ยลดลงทั้งวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ด้วย
“ผลการวิจัยครั้งนี้ยังได้สำรวจครูผู้สอน พบว่าทั้งระดับชั้น ป.4 และ ม.2 ส่วนใหญ่ครูไทยจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสัดส่วนที่สูงกว่าสิงคโปร์ แต่ผลการประเมินที่ออกมากลับต่ำกว่าสิงคโปร์ค่อนข้างมากทั้ง 2 วิชา นอกจากนี้ยังพบว่าครูไทยมีความมั่นใจในการสอน และความพร้อมในการเตรียมการสอนทั้ง 2 วิชาอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาเนื้อหาในหลักสูตรของไทยทั้ง 2 วิชา พบว่าตรง กับเนื้อหา 100 เปอร์เซ็นต์ แต่จัดการเรียนได้สำเร็จเพียงร้อยละ 30 ขณะที่สิงคโปร์มีเนื้อหาหลักสูตรตรงกับการประเมินเพียงร้อยละ 70 แต่จัดการเรียนการสอนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น หลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยต้องพัฒนาครู สถานศึกษา และนักเรียนไปพร้อมๆกัน” นายปรีชาญ กล่าว
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่กระทรวงศึกษาธิการ นายปรีชาญ เดชศรี รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แถลงผลวิจัยการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ พ.ศ.2554 หรือ TIMSS 2011 ที่จัดโดย The International Association for the Evaluation of Educational Achievement หรือ IEA หน่วยงานประเมินคุณภาพด้านการศึกษานานาชาติ โดยระบุว่า ผลการวิจัยระดับชั้น ป.4 มี 52 ประเทศเข้าร่วม พบว่าเด็กไทยมีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 458 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 34 และวิทยาศาสตร์ 472 คะแนน อยู่อันดับที่ 29 โดยประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคณิตศาสตร์ คือสิงคโปร์ ส่วนวิทยาศาสตร์สูงสุด ได้แก่ เกาหลีใต้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในภาพรวม ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ (Fair)
รอง ผอ.สสวท.กล่าวอีกว่า เมื่อจำแนกค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน ตามรายสังกัดพบว่าโรงเรียนสาธิต มีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 540 คะแนน วิทยาศาสตร์ 562 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) คณิตศาสตร์ 502 คะแนน วิทยาศาสตร์ 522 คะแนน โรงเรียนเอกชน คณิตศาสตร์ 487 คะแนน วิทยาศาสตร์ 509 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น คณิตศาสตร์ 476 คะแนน วิทยาศาสตร์ 495 คะแนน และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คณิตศาสตร์ 446 คะแนน วิทยาศาสตร์ 456 คะแนน จึงเห็นได้ว่า โรงเรียนในสังกัด อปท. และ สพฐ.เกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ
ทั้งนี้ เมื่อดูภาพรวมของเด็กไทยในระดับชั้นป.4 วิชาคณิตศาสตร์เด็กไทยร้อยละ 88 มีความสามารถตั้งแต่ระดับที่ต่ำมากไปจนถึงระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 12 ที่ได้คะแนนอยู่ในระดับสูงถึงระดับก้าวหน้า ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์เด็กไทยร้อยละ 80 มีความสามารถตั้งแต่ระดับที่ต่ำมากไปจนถึงระดับปานกลาง และมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ที่มีคะแนนอยู่ในระดับสูงถึงระดับก้าวหน้า
สำหรับผลการประเมิน TIMSS 2011 ในส่วนของชั้น ม.2 นายปรีชาญ ระบุว่า มีประเทศที่เข้าร่วมประเมินทั้งสิ้น 45 ประเทศ ไทยมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ที่ 427 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 28 และวิทยาศาสตร์ 451 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 25 ขณะที่ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ เกาหลีใต้ ส่วนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สิงคโปร์ เมื่อพิจารณาในภาพรวม เด็ก ม.2ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในปีก่อนๆยังพบว่า เด็กไทยชั้น ม. 2 มีคะแนนเฉลี่ยลดลงทั้งวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ด้วย
“ผลการวิจัยครั้งนี้ยังได้สำรวจครูผู้สอน พบว่าทั้งระดับชั้น ป.4 และ ม.2 ส่วนใหญ่ครูไทยจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสัดส่วนที่สูงกว่าสิงคโปร์ แต่ผลการประเมินที่ออกมากลับต่ำกว่าสิงคโปร์ค่อนข้างมากทั้ง 2 วิชา นอกจากนี้ยังพบว่าครูไทยมีความมั่นใจในการสอน และความพร้อมในการเตรียมการสอนทั้ง 2 วิชาอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาเนื้อหาในหลักสูตรของไทยทั้ง 2 วิชา พบว่าตรง กับเนื้อหา 100 เปอร์เซ็นต์ แต่จัดการเรียนได้สำเร็จเพียงร้อยละ 30 ขณะที่สิงคโปร์มีเนื้อหาหลักสูตรตรงกับการประเมินเพียงร้อยละ 70 แต่จัดการเรียนการสอนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น หลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยต้องพัฒนาครู สถานศึกษา และนักเรียนไปพร้อมๆกัน” นายปรีชาญ กล่าว
อ้างอิง : www.thairath.co.th/content/312728
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น