ค่าเฉลี่ยเด็กไทยอ่อนวิชา
"วิทย์-คณิต" อยู่อันดับ 49 ของโลก
ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เด็กไทย พบว่า อยู่อันดับที่ 49 จากการประเมินคะแนนเด็ก 65 ประเทศทั่วโลก สาเหตุเกิดจากการรูปแบบการสอนยังไม่มีการบูรณาการถึงการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ขณะที่การประเมินผลการเรียนรู้ กลับพบว่า ไม่สอดคล้องกับเนื้อหาและโอกาสทางการศึกษาของเด็ก
ในยุคที่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องความรู้ด้านวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นสำหรับเด็กให้ก้าวทันโลก
แม้ไทยทุ่มงบประมาณด้านการศึกษา ร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดิน
ตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา
แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ หรือ พีซ่า (PISA) กลับพบว่า เด็กไทยยังมีปัญหาด้านการวิเคราะห์และพัฒนาการเรียนรู้
โดยค่าเฉลี่ยคะแนนของเด็กไทย อยู่ในอันดับที่ 49 จาก 65
ประเทศในปี 2552
งานประชุม
"การปฏิรูปการศึกษาวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย" ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากต่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนครูทั่วประเทศ เห็นว่า
การพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ควรเริ่มวางหลักสูตรการสอนที่เด็กเข้าถึงง่าย
นายโจเซฟ
แครเจค ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการวิจัยด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา
จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต ระบุว่า หลักสูตรการสอน ต้องกระตุ้นให้เด็กจัดเรียงความคิดและเชื่อมโยงความเข้าใจ
เพื่อจะได้ต่อยอดความรู้ใหม่เองได้ เช่น เรื่องพลังงานในวิชาฟิสิกส์
ต้องบูรณาการกับหลายวิชา อย่าง เคมี และโลกศาสตร์
เพื่อต่อยอดให้เด็กเข้าใจเนื้อหาได้จริง
ขณะที่นางเบญจลักษณ์
น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ระบุว่า
การประเมินผลทั้งการเรียนการสอนมีความสำคัญเช่นกัน
โดยต้องสอดคล้องกับสิ่งที่เด็กเรียน แต่ปัจจุบันการชี้วัดผล ยังมีปัญหาด้านนี้
ส่วนการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กต้องดำเนินการควบคู่กับการประเมินผลการสอนของครู
ซึ่งการใช้ผลสอบของเด็ก อย่าง โอเน็ต ตัดสินผลงานครูอย่างเดียวอาจไม่ถูกต้อง
เพราะนักเรียนแต่ละพื้นที่ รับโอกาสทางการศึกษาต่างกัน
ดังนั้นควรหาเครื่องชี้วัดอื่นๆ เช่น พัฒนาการของเด็ก
อ้างอิง
: http://news.thaipbs.or.th/node/107433
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น