ทำไมเด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์
รศ.ดร.สมวงษ์ แปลงประสพโชค
ผลการวิจัยโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ร่วมกับนานาชาติ ปี 2550 (Trends in International Mathematics and Science
Study 2007) หรือ TIMSS-2007 ซึ่งเป็นโครงการประเมินนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระหว่างปี 2547-2551 โดยมี 59 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ
ฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี นอร์เวย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้
ไทย ฯลฯ และ 8 รัฐเข้าร่วม ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
ในภาพรวมวิชาคณิตศาสตร์ ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 5 ประเทศ
ได้แก่ จีน-ไทเป เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น
โดยประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29 ได้ 441 คะแนน
ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน
ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนสูงสุด 5 ประเทศ คือ สิงคโปร์ จีน-ไทเป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอังกฤษ ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 21 ได้ 471 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ 500
คะแนนเช่นกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับผลประเมินปี 2542 พบว่า ประเทศไทยลดลงทั้ง 2 วิชา คือ คณิตศาสตร์ จาก 467
คะแนน เหลือ 441 คะแนน และวิทยาศาสตร์ จาก 482
คะแนน เหลือ 471 คะแนน
ดร.ปรีชาญ เดชศรี(10 ธันวาคม 2552 ) รองผู้อำนวยการ สสวท.กล่าวว่า ในประเทศไทยเมื่อแยกตามสังกัดพบว่า โรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้คะแนนสูงสุด รองลงมาคือ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และต่ำสุดคือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และยังพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่จะมีคะแนนอยู่ในระดับสูง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กจะมีคะแนนต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนเอกชนมีความพร้อมมากกว่าโรงเรียนของรัฐ และโรงเรียนขนาดเล็กยังมีปัญหา ดังนั้นรัฐบาลจึงควรทุ่มเททรัพยากรเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กเป็นพิเศษ สำหรับสาเหตุที่ผลสัมฤทธิ์ทั้ง 2 วิชาต่ำกว่าการประเมินครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศไทยมีการขยายฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงทำให้คะแนนเฉลี่ยภาพรวมลดลง รวมถึงการมีโรงเรียน ขนาดเล็กมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ สสวท. มีแผนจะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 2 วิชาของเด็กไทย ให้มีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติให้ได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า
ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร รอง ผอ. สสวท. กล่าวว่า ผลการวิจัยยังระบุว่าประเทศไทยจัดเวลาเรียน 2 วิชาดังกล่าวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก คือประมาณ 35 คาบต่อสัปดาห์ สะท้อนให้เห็นว่า การจัดเวลาเรียนมาก ๆ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น ซึ่งพรพรรณ มองว่าเหตุผลที่ทำให้คะแนนต่ำลง เพราะปัญหาขาดแคลนครูเป็นหลัก โดยเฉพาะนโยบายลดอัตรากำลังคนตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ในขณะที่ไม่มีมาตรการจูงใจให้คนเก่งเข้ามาเป็นครู
ดร.ปรีชาญ เดชศรี(10 ธันวาคม 2552 ) รองผู้อำนวยการ สสวท.กล่าวว่า ในประเทศไทยเมื่อแยกตามสังกัดพบว่า โรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้คะแนนสูงสุด รองลงมาคือ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และต่ำสุดคือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และยังพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่จะมีคะแนนอยู่ในระดับสูง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กจะมีคะแนนต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนเอกชนมีความพร้อมมากกว่าโรงเรียนของรัฐ และโรงเรียนขนาดเล็กยังมีปัญหา ดังนั้นรัฐบาลจึงควรทุ่มเททรัพยากรเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กเป็นพิเศษ สำหรับสาเหตุที่ผลสัมฤทธิ์ทั้ง 2 วิชาต่ำกว่าการประเมินครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศไทยมีการขยายฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงทำให้คะแนนเฉลี่ยภาพรวมลดลง รวมถึงการมีโรงเรียน ขนาดเล็กมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ สสวท. มีแผนจะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 2 วิชาของเด็กไทย ให้มีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติให้ได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า
ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร รอง ผอ. สสวท. กล่าวว่า ผลการวิจัยยังระบุว่าประเทศไทยจัดเวลาเรียน 2 วิชาดังกล่าวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก คือประมาณ 35 คาบต่อสัปดาห์ สะท้อนให้เห็นว่า การจัดเวลาเรียนมาก ๆ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น ซึ่งพรพรรณ มองว่าเหตุผลที่ทำให้คะแนนต่ำลง เพราะปัญหาขาดแคลนครูเป็นหลัก โดยเฉพาะนโยบายลดอัตรากำลังคนตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ในขณะที่ไม่มีมาตรการจูงใจให้คนเก่งเข้ามาเป็นครู
ศ.ดร.ณรงค์ ปั้นนิ่ม ศาสตราจารย์สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ
(มศว) ประธานคณะกรรมการผู้ดูแลวิชาคณิตศาสตร์
มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ
และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)
เปิดเผยว่า
จากข้อมูลที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
เปิดเผยว่า เด็กไทยได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ
ทั้งนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 2 วิชายังต่ำกว่าช่วงปี 2542
– 2546 นั้น
เป็นปัญหาที่หมักหมมอยู่ในระบบการเรียนการสอนในสังคมไทยมานานมาก
สืบเนื่องจากครูไทยใช้ระบบข้อสอบปรนัยวัดผลเด็ก
นอกจากการวัดผลแล้ว การฝึกเด็กก็ยังใช้ข้อสอบปรนัย ซึ่งเป็นข้อสอบที่ไม่ได้พัฒนาระบบคิด การใช้เหตุผล ข้อสอบปรนัยเป็นข้อสอบที่ทำลายเด็กไทยอย่างมาก คนที่มาเรียนครูก็ถูกมอมเมาด้วยข้อสอบปรนัย มาเป็นครูก็ใช้ข้อสอบปรนัย เด็กบางคนทำข้อสอบโดยไม่ต้องอ่านคำถามใช้วิธีสุ่มเดาก็สามารถสอบผ่านได้
ศ.ดร.ณรงค์ กล่าวว่า สังคมการศึกษาไทยบริโภคข้อสอบปรนัยมาตั้งแต่ปี 2516 ถึงตอนนี้เป็นเวลาถึง 35 ปีแล้ว ครูทุกวันนี้ก็มุ่งสอนเพื่อหวังให้เด็กไปสอบเรียนต่อให้ได้ มีการสอนวิธีลัด สอนเทคนิค แต่เราไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กเกิดความรู้ การสอนเพื่อให้เด็กสอบเข้าเรียนได้กับการสอนให้เด็กมีความรู้จึงไม่เหมือนกัน เด็กทุกวันนี้จึงชอบไปกวดวิชาเพราะชอบเรียนลัด ชอบไปเรียนเทคนิคการทำข้อสอบ เมื่อสอบเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยบางคนยังต้องไปกวดวิชา เราจะเห็นเด็กมหาวิทยาลัยหลายแห่งยังต้องไปกวดวิชา เพราะเมื่อมาเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเขาปรับตัวเองไม่ได้ มาเจอข้อสอบอัตนัยหรือข้อสอบที่ให้คิดวิเคราะห์แล้วเขียนออกมา เด็กจึงมีปัญหา จะเห็นว่าผลพวงที่ใช้ข้อสอบปรนัยกับเด็กนั้นทำลายเด็กเป็นอย่างมาก ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูง ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และมาเลเซีย จะไม่ใช้ข้อสอบปรนัยกับเด็ก
นอกจากการวัดผลแล้ว การฝึกเด็กก็ยังใช้ข้อสอบปรนัย ซึ่งเป็นข้อสอบที่ไม่ได้พัฒนาระบบคิด การใช้เหตุผล ข้อสอบปรนัยเป็นข้อสอบที่ทำลายเด็กไทยอย่างมาก คนที่มาเรียนครูก็ถูกมอมเมาด้วยข้อสอบปรนัย มาเป็นครูก็ใช้ข้อสอบปรนัย เด็กบางคนทำข้อสอบโดยไม่ต้องอ่านคำถามใช้วิธีสุ่มเดาก็สามารถสอบผ่านได้
ศ.ดร.ณรงค์ กล่าวว่า สังคมการศึกษาไทยบริโภคข้อสอบปรนัยมาตั้งแต่ปี 2516 ถึงตอนนี้เป็นเวลาถึง 35 ปีแล้ว ครูทุกวันนี้ก็มุ่งสอนเพื่อหวังให้เด็กไปสอบเรียนต่อให้ได้ มีการสอนวิธีลัด สอนเทคนิค แต่เราไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กเกิดความรู้ การสอนเพื่อให้เด็กสอบเข้าเรียนได้กับการสอนให้เด็กมีความรู้จึงไม่เหมือนกัน เด็กทุกวันนี้จึงชอบไปกวดวิชาเพราะชอบเรียนลัด ชอบไปเรียนเทคนิคการทำข้อสอบ เมื่อสอบเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยบางคนยังต้องไปกวดวิชา เราจะเห็นเด็กมหาวิทยาลัยหลายแห่งยังต้องไปกวดวิชา เพราะเมื่อมาเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเขาปรับตัวเองไม่ได้ มาเจอข้อสอบอัตนัยหรือข้อสอบที่ให้คิดวิเคราะห์แล้วเขียนออกมา เด็กจึงมีปัญหา จะเห็นว่าผลพวงที่ใช้ข้อสอบปรนัยกับเด็กนั้นทำลายเด็กเป็นอย่างมาก ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูง ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และมาเลเซีย จะไม่ใช้ข้อสอบปรนัยกับเด็ก
สมวงษ์ แปลงประสพโชค เดช
บุญประจักษ์ และจรรยา ภูอุดม(2550)ได้สำรวจความเห็นของครูผู้สอนคณิตศาสตร์
474 คน และนักเรียน 971 คน
จากโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรพุทธศักราช 2542 จำนวน 169
โรงเรียน
มีความเห็นว่าสาเหตุที่นักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์เนื่องมาจากองค์ประกอบดังนี้
1. เกี่ยวกับนักเรียน
ครูมีความเห็นในระดับมากว่าสาเหตุที่นักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์
เกิดจากนักเรียนไม่ชอบคิด ไม่ชอบแก้ปัญหา
ขาดการฝึกฝนและทบทวนด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ
แต่นักเรียนมีความเห็นในสาเหตุดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง
2. เกี่ยวกับผู้ปกครอง
ครูมีความเห็นในระดับมากว่าผู้ปกครองมีการศึกษาน้อยและผู้ปกครองไม่สนับสนุนหรือเอาใจใส่การเรียนของนักเรียนเป็นสาเหตุที่ทำให้นักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์
แต่นักเรียนมีความคิดเห็นในข้อการศึกษาของผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง
และเห็นว่าการที่ผู้ปกครองไม่สนับสนุนหรือเอาใจใส่การเรียนของนักเรียนเป็นสาเหตุในระดับน้อย
3. เกี่ยวกับหลักสูตร
ครู มีความเห็นในระดับมากว่าสาเหตุที่นักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์อันเนื่องมาจาก
สื่อการสอนและเครื่องอำนวยการสอนไม่เพียงพอ
แต่นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความเห็นในสาเหตุดังกล่าวระดับปานกลาง
และนักเรียนระดับประถมศึกษามีความเห็นในสาเหตุดังกล่าวในระดับน้อย
4. เกี่ยวกับครูผู้สอน
นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความเห็นในระดับมากว่า
สาเหตุที่นักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์เนื่องมาจากครูได้แก่ ครูสอนไม่ดี
อธิบายไม่รู้เรื่อง ครูดุ เจ้าอารมณ์ ครูไม่เข้มงวดในการทำการบ้าน
ครูสอนจริงจังบรรยากาศเครียดขาดอารมณ์ขัน ครูไม่อดทนที่จะอธิบายให้นักเรียนเข้าใจ
ครูไม่ใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจ
ครูให้นักเรียนอ่านเองสรุปเองแล้วมาสอบ วิธีสอนของครูไม่น่าสนใจ ครูมีความรู้ไม่ดี
ขาดความมั่นใจตนเอง ครูไม่จบสาขาวิชาคณิตศาสตร์โดยตรง
ครูไม่เปิดใจกว้างให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ ครูขาดแรงจูงใจ
ครูสอนโดยไม่เน้นการคิดแก้ปัญหาและไม่เน้นการนำไปใช้ในชีวิตจริง
ครูมีภาระงานที่รับผิดชอบในโรงเรียนมากไป
แต่ครูมีความเห็นในระดับมากตรงกับนักเรียนเพียง 4 ประเด็นได้แก่ ครูให้นักเรียนอ่านเองสรุปเองแล้วมาสอบ
ครูมีความรู้ไม่ดี ขาดความมั่นใจในตนเอง ครูไม่จบสาขาวิชาคณิตศาสตร์โดยตรง
และครูไม่เปิดใจกว้างให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ
แต่นักเรียนในระดับประถมศึกษามีความเห็นทุกข้อที่กล่าวมาในระดับปานกลาง
อ้างอิง : www.ripn-math.com/doc/25520515/whykid.doc
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น