สร้าง Database และ Table ด้วย phpMyAdmin
เริ่มแรก เราก็ต้องเข้าใช้โปรแกรม phpMyAdmin กันก่อนค่ะ ตามที่เราได้เลยศึกษากันแล้วบทความ "เริ่มต้นใช้งาน phpMyAdmin" เมื่อเข้ามาในหน้าแรก phpMyAdmin แล้ว
ขั้นตอนแรก ให้สังเกตบริเวณฝั่งขวามือ หาส่วนสำหรับสร้างฐานข้อมูลใหม่ ตามภาพที่ 1 ให้เราใส่ชื่อฐานข้อมูลที่เราจะสร้าง ในที่นี้ของยกตัวอย่างการสร้างฐานข้อมูลนักเรียนนะค่ะ เลยตั้งชื่อฐานข้อมูลว่า student
เมื่อเรากดปุ่มสร้าง Database ไปแล้ว จะสังเกตได้ว่าด้านซ้ายมือของเราจะปรากฏชื่อฐานข้อมูล student ที่เราได้สร้างขึ้นมา ดังภาพที่ 2
ขั้นตอนที่ 2 หลังจากเราได้สร้างฐานข้อมูลแล้ว เราจะมาสร้างตาราง หรือ Table เพื่อเตรียมไว้สำหรับรองรับการเก็บข้อมูลกันต่อ โดยสังเกตบริเวณฝังขวามือจะเจอส่วนของการสร้างตารางดังภาพที่ 3 ให้เราตั้งชื่อตาราง และจำนวนฟิลด์ข้อมูล แล้วกดปุ่มลงมือ
ในที่นี้ขอตั้งชื่อตารางเป็น personal ทั้งนี้เพราะ Webmaster ตั้งใจจะสร้างตารางนี้เพื่อเก็บข้อมูลส่วนของประวัตินักเรียน โดยจะเก็บข้อมูล
1. ชื่อ
2. นามสกุล
3. ที่อยู่
4. เบอร์โทรศัพท์
จะเห็นได้ว่ามีการเก็บข้อมูลทั้งหมด 4 ข้อมูล ซึ่งการกำหนดจำนวนฟิลด์เราก็คิดตามจำนวนของข้อมูลข้างต้นนี่ละค่ะ ซึ่งจากข้อมูลก็จะได้ 4 ฟิลด์ (หรือใครจะเอาแค่ 3 ก็ได้ค่ะ หากเอา ชื่อ กับนามสกุลเก็บในฟิลด์เดียวกัน) แต่ที่ Webmaster กำหนดค่าฟิลด์เป็น 5 ก็เพราะในการเก็บข้อมูลนั้น เราจะต้องใช้ฟิลด์บางฟิลด์ในการอ้างอิงถึงข้อมูลในตาราง จึงต้องสร้างฟิลด์ ๆ นี้ไว้อีกหนึ่งฟิลด์เพื่อเอาไว้เป็นตัวอ้างอิงลำดับของข้อมูล (ดัชนี)
ดังนั้นในฟิลด์ Sid เราต้องกำหนดค่า "ว่างเปล่า (null)" เป็น not null และกำหนดค่า "เพิ่มเติม" เป็น auto_increment เพื่อให้ข้อมูลในฟิลด์นี้เพิ่มค่าขึ้นทีละหนึ่งโดยอัตโนมัต นอกจากนี้แล้วฟิลด์ Sid ที่ใช้ในการอ้างอิง (ดัชนี) จะต้องกำหนดค่าเป็นไพรมารี (PRIMARY) ด้วย โดยการเลือกในช่องไพรมารี (รูปกุญแจ)
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อเรากดปุ่มลงมือไปแล้ว เราก็ต้องมากำหนดชื่อฟิลด์ข้อมูล ซึ่งควรตั้งชื่อให้สื่อถึงข้อมูลที่เราจะเก็บ โดยการตั้งเป็นชื่อภาษาอังกฤษ (จะตั้งเป็นตัวพิมพ์เล็กหรือใหญ่ก็ได้)
ฟิลด์แรก ขอตั้งชื่อว่า Sid (ตั้งเป็นตัวย่อ มาจาก Student id) สำหรับเก็บลำดับข้อมูลของนักเรียน ซึ่งฟิลด์ลำดับมักจะสร้างไว้เป็นฟิลด์แรก ในที่นี้กำหนดชนิดของข้อมูลเป็น INT (Integer) เพราะฟิลด์นี้สร้างขึ้นสำหรับเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลขเท่านั้น
ส่วนฟิลด์อื่น ๆ ก็ตั้งชื่อให้สื่อถึงข้อมูลที่เราจะเก็บ กำหนดชนิดของข้อมูลเป็น VARCHAR เพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และความยาวของข้อมูลนั้น ชนิด VARCHAR เราจะนับตามจำนวนตัวอักษร
เดียวในเรื่องของชนิดข้อมูลนี้ Webmaster จะขออธิบายให้ศึกษากันในบทความครั้งหน้านะค่ะ (ไม่งั้นบทความนี้ยาวแน่ ๆ ค่ะ)
เมื่อตั้งชื่อฟิลด์และกำหนดรายละเอียดเรียบร้อยแล้วก็กดปุ่มบันทึกได้เลย
ผลลัพธ์ก็จะมี Table ปรากฏด้านซ้ายมือตามชื่อที่เราได้สร้างไว้ และเมื่อเราคลิกที่ Table ก็จะมีรายละเอียดโครงสร้างตามที่เรากำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น