วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทำไมเด็กไทยถึงอ่อนวิชาคณิตศาตร์10


ค่าเฉลี่ยเด็กไทยอ่อนวิชา "วิทย์-คณิต" อยู่อันดับ 49 ของโลก

 

ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เด็กไทย พบว่า อยู่อันดับที่ 49 จากการประเมินคะแนนเด็ก 65 ประเทศทั่วโลก สาเหตุเกิดจากการรูปแบบการสอนยังไม่มีการบูรณาการถึงการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ขณะที่การประเมินผลการเรียนรู้ กลับพบว่า ไม่สอดคล้องกับเนื้อหาและโอกาสทางการศึกษาของเด็ก


ในยุคที่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องความรู้ด้านวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นสำหรับเด็กให้ก้าวทันโลก แม้ไทยทุ่มงบประมาณด้านการศึกษา ร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดิน ตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ หรือ พีซ่า (PISA) กลับพบว่า เด็กไทยยังมีปัญหาด้านการวิเคราะห์และพัฒนาการเรียนรู้ โดยค่าเฉลี่ยคะแนนของเด็กไทย อยู่ในอันดับที่ 49 จาก 65 ประเทศในปี 2552

งานประชุม "การปฏิรูปการศึกษาวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย" ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากต่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนครูทั่วประเทศ เห็นว่า การพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ควรเริ่มวางหลักสูตรการสอนที่เด็กเข้าถึงง่าย

นายโจเซฟ แครเจค ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการวิจัยด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต ระบุว่า หลักสูตรการสอน ต้องกระตุ้นให้เด็กจัดเรียงความคิดและเชื่อมโยงความเข้าใจ เพื่อจะได้ต่อยอดความรู้ใหม่เองได้ เช่น เรื่องพลังงานในวิชาฟิสิกส์ ต้องบูรณาการกับหลายวิชา อย่าง เคมี และโลกศาสตร์ เพื่อต่อยอดให้เด็กเข้าใจเนื้อหาได้จริง

ขณะที่นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ระบุว่า การประเมินผลทั้งการเรียนการสอนมีความสำคัญเช่นกัน โดยต้องสอดคล้องกับสิ่งที่เด็กเรียน แต่ปัจจุบันการชี้วัดผล ยังมีปัญหาด้านนี้
ส่วนการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กต้องดำเนินการควบคู่กับการประเมินผลการสอนของครู ซึ่งการใช้ผลสอบของเด็ก อย่าง โอเน็ต ตัดสินผลงานครูอย่างเดียวอาจไม่ถูกต้อง เพราะนักเรียนแต่ละพื้นที่ รับโอกาสทางการศึกษาต่างกัน ดังนั้นควรหาเครื่องชี้วัดอื่นๆ เช่น พัฒนาการของเด็ก


อ้างอิง :  http://news.thaipbs.or.th/node/107433


ทำไมเด็กไทยถึงอ่อนวิชาคณิตศาตร์9


" วิจัยเด็กไทยอ่อนคณิต-วิทย์ เทียบกับ 59 ชาติ
เรียนหนักที่สุดแต่ตํ่ากว่ามาตรฐาน จริงรึปล่าว "

เผยผลวิจัยผลสัมฤทธิ์การเรียน คณิต-วิทย์ของเด็กม.2 ต่ำกว่ามาตรฐานโลกทั้ง 2 วิชา ทั้งที่มีชั่วโมงเรียนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก สสวท.ชี้สาเหตุสำคัญเพราะขาดแคลนครู และไม่มีแรงจูงใจดึงคนเก่งมาเป็นครู แต่ตั้งเป้าอีก 10 ปี จะพัฒนาข้ามมาตรฐานโลกให้ได้

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.) ได้แถลงผลการวิจัยโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยา ศาสตร์ ร่วมกับนานาชาติ ปี 2550 (Trends in International Mathematics and Science Study 2007) หรือ TIMSS-2007 โดย ดร.ปรีชาญ เดชศรี ผู้ช่วย ผอ. สสวท. เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นการประเมินนักเรียนระดับชั้น ม.2 ในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระหว่างปี 2547-2551 โดยมี 59 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี นอร์เวย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไทย ฯลฯ และ 8 รัฐเข้าร่วม ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมวิชาคณิตศาสตร์ ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 5 ประเทศ ได้แก่ จีน-ไทเป เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29 ได้ 441 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนสูงสุด 5 ประเทศ คือ สิงคโปร์ จีน-ไทเป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอังกฤษ ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 21 ได้ 471 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ 500 คะแนนเช่นกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับผลประเมินปี 2542 พบว่า ประเทศไทยลดลงทั้ง 2 วิชา คือ คณิตศาสตร์ จาก 467 คะแนน เหลือ 441 คะแนน และวิทยาศาสตร์ จาก 482 คะแนน เหลือ 471 คะแนน

ดร.ปรีชาญ กล่าวต่อไปว่า ในประเทศไทยเมื่อแยกตามสังกัดพบว่า โรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้คะแนนสูงสุด รองลงมาคือ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และต่ำสุดคือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และยังพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่จะมีคะแนนอยู่ในระดับสูง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กจะมีคะแนนต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนเอกชนมีความพร้อมมากกว่า โรงเรียนของรัฐ และโรงเรียนขนาดเล็กยังมีปัญหา ดังนั้นรัฐบาลจึงควรทุ่มเททรัพยากรเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ขนาดเล็กเป็นพิเศษ สำหรับสาเหตุที่ผลสัมฤทธิ์ทั้ง 2 วิชาต่ำกว่าการประเมินครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศไทยมีการขยายฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงทำให้คะแนนเฉลี่ยภาพรวมลดลง รวมถึงการมีโรงเรียน ขนาดเล็กมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ สสวท. มีแผนจะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 2 วิชาของเด็กไทย ให้มีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติให้ได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า

ด้าน ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร รอง ผอ. สสวท. กล่าวว่า ผลการวิจัยยังระบุว่าประเทศไทยจัดเวลาเรียน 2 วิชาดังกล่าวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก คือประมาณ 35 คาบต่อสัปดาห์ สะท้อนให้เห็นว่า การจัดเวลาเรียนมาก ๆ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น ซึ่งตนมองว่าเหตุผลที่ทำให้คะแนนต่ำลง เพราะปัญหาขาดแคลนครูเป็นหลัก โดยเฉพาะนโยบายลดอัตรากำลังคนตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ในขณะที่ไม่มีมาตรการจูงใจให้คนเก่งเข้ามาเป็นครู      
                               
%2Fguru%2Fuser%3Fuserid%3D02513914782467621161&clk=wttpcts 

ทำไมเด็กไทยถึงอ่อนวิชาคณิตศาตร์8


รมว.ศึกษาเตรียมแก้ปัญหาเด็กไทยอ่อนคณิต-วิทย์ของ
เด็กชั้นมัธยม  25เทียบกับ 59 ประเทศ ต่ำกว่าเฉลี่ยนานาชาติ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยหลังประชุมกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ว่า มีนโยบายให้ศธ.ยกเครื่องการจัดการเรียนการสอนทางด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ครั้งใหม่เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไทยดีขึ้น หลังจากมีผลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยชั้น ม.2 กับอีก 59 ประเทศตามโครงการ TIMISS 2007

ที่สถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดำเนินการร่วมกับนานาประเทศพบว่า คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 29 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในลำดับที่ 22 โดยคะแนนของทั้ง 2 วิชาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ

นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า ได้ให้นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ. ) ไปตั้งคณะทำงานระดมคนมาจากทุกหน่วยงานใน ศธ. รวมไปถึงผู้แทนครูในวิชาคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ช่วยกันหาคำตอบว่า จะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เด็กไทยเก่งวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์มากขึ้น พร้อมให้รายละเอียดของการดำเนินการมาด้วย โดยให้กลับมารายงานที่ประชุมอีกครั้งในการประชุมกระทรวงศึกษาธิการประจำเดือนมีนาคม

เราตั้งเป้าหลักไว้ว่า เด็กไทยที่จบชั้น ป.3 หรือ ป.4 จะต้องอ่านคล่อง เขียนคล่องและคิดเลขเป็น เหตุผลที่เราต้องผนวกเป้าหมายเรื่องการอ่านออก เขียนได้ไปด้วย เนื่องจากพบว่า สาเหตุที่เด็กอ่อนคณิตศาสตร์ ส่วนหนึ่งเพราะอ่านโจทย์ไม่ออก จึงต้องกำหนดเป้าหมายไว้ทั้ง 3 ส่วนรมว.ศธ. กล่าว


อ้างอิง :  http://www.tlcthai.com/education/news/6135.html

ทำไมเด็กไทยถึงอ่อนวิชาคณิตศาตร์7


  เด็กไทยอ่อนวิทย์-คณิต
รมว.ศึกษาชี้ผลทิมส์ ประเมินวิทย์-คณิตแย่ ต้องแก้ที่"หลักสูตร-ครู"

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยผลการวิจัยการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ พ.ศ. 2554 (Trend in International Mathematics and Science Study 2011 : TIMSS 2011) ดำเนินการโดย IEA (The International Association for the Evaluation of Educational Achievement)
โดยผลปรากฎว่า ระดับคะแนนในวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับแย่ (poor) ว่า แนวโน้มคะแนนประเมินระดับนานาชาติของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นต้องแก้ไขโดยการยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งตนได้มอบหมายนายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการศธ. ไปพิจารณาวางแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาแล้ว โดยเน้น 2 เรื่องสำคัญ ได้แก่ การปรับหลักสูตรและพัฒนาครู โดยเฉพาะหลักสูตรไม่ได้หมายถึงแค่การเรียนในห้องเรียน แต่เด็กต้องมีพัฒนาการนอกห้องเรียน มีความคิดสร้างสรรค์และมีจิตสำนึกประชาธิปไตย ส่วนครูก็ต้องมีคุณภาพเพราะถ้าครูสอนได้ดี ลูกศิษย์ก็จะไปได้ดี
เราจะต้องมาทบทวนกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพราะจริง ๆ แล้วเด็กไทยต้องเรียนเนื้อหาเยอะมากในแต่ละวัน เมื่อต้องเอาสาระที่มีจำนวนมากมาพยายามอัดใส่เด็กทำให้เด็กไม่มีเวลาคิด กลายเป็นการเรียนแบบท่องจำอย่างเดียว ดังนั้นควรจะเติมเรื่องความคิดสร้างสรรค์และการปลูกฝังจิตสำนึกในด้านต่างๆ แทรกซึมเข้าไปในการเรียนการสอนด้วย เพราะความคิดสร้างสรรค์จะทำให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น ทั้งนี้ในการประชุมผู้บริหารศธ.ทุก 2 สัปดาห์จะนำเรื่องนี้มาหารือกัน แต่โดยหลักการจะต้องทีการปฏิรูปหลักสูตรในภาพรวมทั้งหมด ทั้งเรื่องของเนื้อหาและโครงสร้างเวลาเรียน รวมการพัฒนาครูทั้งระบบ เพราะถ้ายังไม่ปรับตรงนี้ ผลการศึกษาของเด็กไทยก็จะมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องอีกนายพงศ์เทพ กล่าว

อ้างอิง :  www.dailynews.co.th/Content/education/140052/เด็กไทยอ่อนวิทย์-คณิต

ทำไมเด็กไทยถึงอ่อนวิชาคณิตศาตร์6


"อจ.มศว"  แฉข้อสอบปรนัยทำเด็กไทยอ่อน"คณิต-วิทย์"

อาจารย์ มศว ออกโรงชำแหละ เหตุผลสัมฤทธิ์ "คณิต-วิทย์" เด็กไทยตกต่ำ มีปัจจัยทั้งใช้ข้อสอบปรนัยวัดผล ไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้น ชี้สสวท.ตั้งเป้า 10 ปีพัฒนาได้ไม่ง่าย ผอ.สทศ.ชี้แบบเรียนคณิตศาสตร์อ่านเข้าใจยาก ด้านเลขาฯ กพฐ. แจงต้องใช้เวลา

จากกรณีที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ออกมาเปิดเผยผลการวิจัยโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ร่วมกับนานาชาติ ปี 2550 หรือ TIMSS - 2007 ซึ่งมี 59 ประเทศ และ 8 รัฐเข้าร่วม ซึ่งปรากฏว่าพบเด็กไทยอ่อนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยผลคะแนนคณิตศาสตร์อยู่อันดับที่ 29 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ และวิทยาศาสตร์อยู่อันดับที่ 21 และเมื่อเปรียบเทียบกับผลคะแนนเมื่อปี 2542 ทั้ง 2 วิชาลดลง คณิตศาสตร์จาก 467 คะแนน เหลือ 441 คะแนน และวิทยาศาสตร์ จาก 482 คะแนน เหลือ 471 คะแนน นั้น

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาเด็กไทยอ่อนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นปัญหาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการแก้ไขมาโดยตลอด แต่จะให้เห็นผลทันทีคงเป็นไปไม่ได้ จะต้องใช้เวลา โดยการแก้ไขปัญหานั้น สพฐ.ได้ร่วมมือกับ สสวท.จัดโรงเรียนนำร่องกว่า 1,750 แห่ง เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนามาตรฐานการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และถ้าประสบความสำเร็จจะขยายไปโรงเรียนต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้ศึกษารูปแบบการสอนของเอกชนที่เปิดสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรงเรียนต่างๆ ด้วย ส่วนผลวิจัยที่พบว่าโรงเรียนในสังกัด สพฐ.มีคะแนนนต่ำสุดนั้น ตนมองว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะโรงเรียนในสังกัด สพฐ.มีจำนวนมาก

คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายเสนอให้ปรับเปลี่ยนมาตรฐานการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นั้น ตนเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ทาง สพฐ.ทำอยู่แล้ว อาทิ 1.พัฒนาคุณภาพครู และแก้ปัญหาการบรรจุครูสอนให้ตรงกับวุฒิการศึกษา 2.กำหนดมาตรการดูแลเด็กที่เรียนอ่อนและติดตามผลอย่างใกล้ชิด 3.พัฒนาสื่อการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสม เนื่องจากพบว่าการสอนส่วนใหญ่ยังขาดแคลนสื่อการสอนที่ทันสมัย โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และ 4.การให้ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนให้สนุกและน่าสนใจมากขึ้น เป็นต้น  

นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอ่อนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาตร์ มาจากหลายปัจจัย เช่น พื้นฐานของผู้เรียนเอง ปัญหาขาดแคลนครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และในปี 2552 สพฐ.ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีการเข้มงวดเรื่องมาตรฐานการสอนมากขึ้น โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ส่วนที่ตั้งเป้าไว้อีก 10 ปีข้างหน้า ผลการประเมินวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยจะสูงกว่านานาชาตินั้น ตนมองว่าเป็นแค่การตั้งเป้าหมาย แต่ต้องเร่งพัฒนาภายในไม่กี่ปีนี้ คงไม่รอถึง 10 ปีแน่นอน  

นางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (ผอ.สทศ.) กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะต้องพลิกโฉมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ใหม่ โดยเฉพาะ สสวท.จะต้องพัฒนาแบบเรียนให้ทันสมัย อ่านเข้าใจ โดยเฉพาะแบบเรียนคณิตศาสตร์ต้องเขียนให้อ่านเข้าใจ เพราะปัจจุบันเป็นนามธรรมมากเกินไป รวมทั้งต้องอบรมและพัฒนาครูด้วยวิธีการใหม่ เช่น อบรมผ่านระบบออนไลน์ แทนการเรียกมาอบรมได้ครั้งละไม่กี่ร้อยคน ซึ่งจะยิ่งทำให้เห็นผลการพัฒนาล่าช้าไปอีก ที่สำคัญจะต้องแก้ปัญหาขาดแคลนครู ซึ่งจะต้องแก้ปัญหาในระดับโรงเรียน ไม่ใช่แก้ปัญหาในระดับภาคหรือภาพรวมเท่านั้น ส่วนที่ทาง สสวท.ระบุว่า อีก 10 ปีข้างหน้าเด็กไทยจะมีคะแนนประเมินสูงกว่าเด็กนานาชาตินั้น ตนมองว่าเป็นไปได้ยาก มีทางเดียว สสวท.จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์แบบก้าวกระโดด ไม่ใช่ค่อยๆ ทำเหมือนในอดีต ซึ่งหากทุกคนตั้งใจทำน่าจะประสบผลสำเร็จได้

นายณรงค์ ปั้นนิ่ม อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และประธานคณะกรรมการผู้ดูแลวิชาคณิตศาสตร์ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวได้หมักหมมอยู่ในระบบการเรียนการสอนในสังคมไทยมานานมากแล้ว เพราะครูไทยใช้ระบบข้อสอบปรนัยมาวัดผลเด็ก และการฝึกเด็กก็ยังใช้ข้อสอบปรนัยอีก ซึ่งเป็นข้อสอบที่ไม่ได้พัฒนาระบบคิด และการใช้เหตุผล ข้อสอบปรนัยเป็นข้อสอบที่ทำลายเด็กไทยอย่างมาก คนที่มาเรียนครูก็ถูกมอมเมาด้วยข้อสอบปรนัย มาเป็นครูก็ใช้ข้อสอบปรนัย เด็กบางคนทำข้อสอบโดยไม่ต้องอ่านคำถาม แต่ใช้วิธีสุ่มเดาก็สามารถสอบผ่านได้

"สังคมการศึกษาไทยเราบริโภคข้อสอบปรนัยมาตั้งแต่ปี 2516 ถึงตอนนี้เป็นเวลาถึง 35 ปี วงจรข้อสอบปรนัยได้ทำลายเด็กไทย โดยที่ครูไทยยังไม่รู้ตัว อีกทั้งครูทุกวันนี้ก็มุ่งสอนเพื่อหวังให้เด็กสอบเรียนต่อได้ มีการสอนวิธีลัด สอนเทคนิค โดยไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กเกิดความรู้ เด็กทุกวันนี้จึงชอบไปกวดวิชา แม้แต่สอบเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยแล้วบางคนก็ยังต้องไปกวดวิชา เพราะมาเจอข้อสอบอัตนัยหรือข้อสอบที่ให้คิดวิเคราะห์แล้วเขียนออกมา เด็กมีปัญหาทำไม่ได้ เข้าสู่การทำงานก็ไร้คุณภาพ ในขณะที่ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูง ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย จะไม่ใช้ข้อสอบปรนัยกับเด็กของเขา" นายณรงค์กล่าว

นายณรงค์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ระบบการเรียนที่ไม่ให้เด็กซ้ำชั้น ก็ทำลายเด็ก เพราะจะไม่มีความตั้งใจในการเรียน บางคนได้เกรดเฉลี่ย 0 มาซ่อมก็สามารถผ่านไปได้ เท่าที่ทราบในเมืองไทยมีโรงเรียนจิตรลดาเพียงโรงเรียนเดียวที่ยังมีการซ้ำชั้น หากผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ แต่โรงเรียนอื่นๆ ไม่มีการซ้ำชั้น แม้ผลการเรียนของเด็กจะไม่ผ่านก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากการเรียนสมัยก่อนมาก ทั้งนี้ หลายคนอาจจะบอกว่าเด็กไทยในปัจจุบันนี้ก็ตั้งใจและเป็นเด็กเก่ง ไปแข่งขันระดับนานาชาติไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ก็คว้ารางวัลต่างๆ มามากมาย ซึ่งก็น่าดีใจ น่ายินดี แต่เด็กกลุ่มนี้เป็นชนกลุ่มน้อยเท่านั้น แต่ชนกลุ่มมากยังมีปัญหาอยู่ในระดับที่แย่มาก น่าเป็นห่วง

"ที่ สสวท.ตั้งเป้าว่ามีแผนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้เด็กไทยมีคะแนนสูงขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า คิดว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย สสวท.เองต้องปรับเปลี่ยนตัวเองก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการคิด การพัฒนาตำราต่างๆ เพราะเท่าที่มีโอกาสพัฒนาครูคณิตศาสตร์มาเป็นปีที่ 9 เพื่อให้ครูมีความรู้ ทักษะ และวิธีการสอนคณิตศาสตร์ ก็ยังพบว่าครูยังติดกับดักการสอนแบบปรนัย ซึ่งไม่อาจจะวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ เมื่อเด็กต้องไปวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่วัดกันด้วยความรู้ ความเข้าใจ เหตุผล เด็กไทยจึงทำไม่ได้ ผลสัมฤทธิ์จึงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ" นายณรงค์กล่าว

อ้างอิง : http://www2.eduzones.com/rangsit/14550



ทำไมเด็กไทยถึงอ่อนวิชาคณิตศาตร์5


เด็กไทย เรียนหนัก แต่อ่อนวิทย์ - คณิต

            ประเทศไทยขายหน้าชาวโลกอีกแล้ว เผยผลวิจัยผลสัมฤทธิ์การเรียนคณิต-วิทย์ของเด็กม.2 ต่ำกว่ามาตรฐานโลกทั้ง 2 วิชา ทั้งที่มีชั่วโมงเรียนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก สสวท.ชี้สาเหตุสำคัญเพราะขาดแคลนครู และไม่มีแรงจูงใจดึงคนเก่งมาเป็นครู แต่ตั้งเป้าอีก 10 ปี จะพัฒนาข้ามมาตรฐานโลกให้ได้

            เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.) ได้แถลงผลการวิจัยโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ร่วมกับนานาชาติ ปี 2550 (Trends in International Mathematics and Science Study 2007) หรือ TIMSS-2007 โดย ดร.ปรีชาญ เดชศรี ผู้ช่วย ผอ. สสวท. เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นการประเมินนักเรียนระดับชั้น ม.2 ในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระหว่างปี 2547-2551 โดยมี 59 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี นอร์เวย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไทย ฯลฯ และ 8 รัฐเข้าร่วม ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมวิชาคณิตศาสตร์ ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 5 ประเทศ ได้แก่ จีน-ไทเป เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29 ได้ 441 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนสูงสุด 5 ประเทศ คือ สิงคโปร์ จีน-ไทเป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอังกฤษ ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 21 ได้ 471 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ 500 คะแนนเช่นกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับผลประเมินปี 2542 พบว่า ประเทศไทยลดลงทั้ง 2 วิชา คือ คณิตศาสตร์ จาก 467 คะแนน เหลือ 441 คะแนน และวิทยาศาสตร์ จาก 482 คะแนน เหลือ 471 คะแนน
 
ดร.ปรีชาญ กล่าวต่อไปว่า ในประเทศไทยเมื่อแยกตามสังกัดพบว่า โรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้คะแนนสูงสุด รองลงมาคือ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และต่ำสุดคือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และยังพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่จะมีคะแนนอยู่ในระดับสูง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กจะมีคะแนนต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนเอกชนมีความพร้อมมากกว่าโรงเรียนของรัฐ และโรงเรียนขนาดเล็กยังมีปัญหา ดังนั้นรัฐบาลจึงควรทุ่มเททรัพยากรเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กเป็นพิเศษ สำหรับสาเหตุที่ผลสัมฤทธิ์ทั้ง 2 วิชาต่ำกว่าการประเมินครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศไทยมีการขยายฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงทำให้คะแนนเฉลี่ยภาพรวมลดลง รวมถึงการมีโรงเรียน ขนาดเล็กมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ สสวท. มีแผนจะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 2 วิชาของเด็กไทย ให้มีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติให้ได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า
 
ด้าน ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร รอง ผอ. สสวท. กล่าวว่า ผลการวิจัยยังระบุว่าประเทศไทยจัดเวลาเรียน 2 วิชาดังกล่าวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก คือประมาณ 35 คาบต่อสัปดาห์ สะท้อนให้เห็นว่า การจัดเวลาเรียนมาก ๆ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น ซึ่งตนมองว่าเหตุผลที่ทำให้คะแนนต่ำลง เพราะปัญหาขาดแคลนครูเป็นหลัก โดยเฉพาะนโยบายลดอัตรากำลังคนตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ในขณะที่ไม่มีมาตรการจูงใจให้คนเก่งเข้ามาเป็นครู.เพียงสั้น ๆ ว่า วันนี้มีความสุขดี ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีเวลาได้ทำบุญ และไม่ได้ทำบุญบ้านมานานพอสมควรแล้ว

อ้างอิง :  https://blog.eduzones.com/futurecareer/14541



ทำไมเด็กไทยถึงอ่อนวิชาคณิตศาตร์4


วิจัยนร. ไทยอ่อน วิชาคณิต-วิทย์

น่าห่วงเด็กไทย อ่อนทั้งเลข และวิทย์ สสวท.เผยผลประเมิน TIMSS 2011 พบค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์ เด็ก ป.4 ของไทยติดกลุ่มบ๊วย อันดับ 34 จาก 52 ประเทศ ส่วนวิทยาศาสตร์ก็รั้งท้ายอยู่อันดับ 29 ขณะที่เด็กนักเรียนไทยชั้น ม.2 ยิ่งหนัก คะแนนประเมิน 2 วิชา รูดลงมาอยู่ที่โหล่ ตกต่ำลงกว่าปีก่อนๆ ตะลึงพบผลประเมินการสอนของแม่พิมพ์ไทยยังต่ำกว่าเกณฑ์ จี้โรงเรียนเร่งยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยด่วน

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ที่กระทรวงศึกษาธิการ นายปรีชาญ เดชศรี รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แถลงผลวิจัยการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ พ.ศ.2554 หรือ TIMSS 2011 ที่จัดโดย The International Association for the Evaluation of Educational Achievement หรือ IEA หน่วยงานประเมินคุณภาพด้านการศึกษานานาชาติ โดยระบุว่า ผลการวิจัยระดับชั้น ป.4 มี 52 ประเทศเข้าร่วม พบว่าเด็กไทยมีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 458 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 34 และวิทยาศาสตร์ 472 คะแนน อยู่อันดับที่ 29 โดยประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคณิตศาสตร์ คือสิงคโปร์ ส่วนวิทยาศาสตร์สูงสุด ได้แก่ เกาหลีใต้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในภาพรวม ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ (Fair)

รอง ผอ.สสวท.กล่าวอีกว่า เมื่อจำแนกค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน ตามรายสังกัดพบว่าโรงเรียนสาธิต มีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 540 คะแนน วิทยาศาสตร์ 562 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) คณิตศาสตร์ 502 คะแนน วิทยาศาสตร์ 522 คะแนน โรงเรียนเอกชน คณิตศาสตร์ 487 คะแนน วิทยาศาสตร์ 509 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น คณิตศาสตร์ 476 คะแนน วิทยาศาสตร์ 495 คะแนน และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คณิตศาสตร์ 446 คะแนน วิทยาศาสตร์ 456 คะแนน จึงเห็นได้ว่า โรงเรียนในสังกัด อปท. และ สพฐ.เกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ

ทั้งนี้ เมื่อดูภาพรวมของเด็กไทยในระดับชั้นป.4 วิชาคณิตศาสตร์เด็กไทยร้อยละ 88 มีความสามารถตั้งแต่ระดับที่ต่ำมากไปจนถึงระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 12 ที่ได้คะแนนอยู่ในระดับสูงถึงระดับก้าวหน้า ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์เด็กไทยร้อยละ 80 มีความสามารถตั้งแต่ระดับที่ต่ำมากไปจนถึงระดับปานกลาง และมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ที่มีคะแนนอยู่ในระดับสูงถึงระดับก้าวหน้า

สำหรับผลการประเมิน TIMSS 2011 ในส่วนของชั้น ม.2 นายปรีชาญ ระบุว่า มีประเทศที่เข้าร่วมประเมินทั้งสิ้น 45 ประเทศ ไทยมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ที่ 427 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 28 และวิทยาศาสตร์ 451 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 25 ขณะที่ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ เกาหลีใต้ ส่วนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สิงคโปร์ เมื่อพิจารณาในภาพรวม เด็ก ม.2ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในปีก่อนๆยังพบว่า เด็กไทยชั้น ม. 2 มีคะแนนเฉลี่ยลดลงทั้งวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ด้วย

“ผลการวิจัยครั้งนี้ยังได้สำรวจครูผู้สอน พบว่าทั้งระดับชั้น ป.4 และ ม.2 ส่วนใหญ่ครูไทยจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสัดส่วนที่สูงกว่าสิงคโปร์ แต่ผลการประเมินที่ออกมากลับต่ำกว่าสิงคโปร์ค่อนข้างมากทั้ง 2 วิชา นอกจากนี้ยังพบว่าครูไทยมีความมั่นใจในการสอน และความพร้อมในการเตรียมการสอนทั้ง 2 วิชาอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาเนื้อหาในหลักสูตรของไทยทั้ง 2 วิชา พบว่าตรง กับเนื้อหา 100 เปอร์เซ็นต์ แต่จัดการเรียนได้สำเร็จเพียงร้อยละ 30 ขณะที่สิงคโปร์มีเนื้อหาหลักสูตรตรงกับการประเมินเพียงร้อยละ 70 แต่จัดการเรียนการสอนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น หลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยต้องพัฒนาครู สถานศึกษา และนักเรียนไปพร้อมๆกัน” นายปรีชาญ กล่าว

อ้างอิง :  www.thairath.co.th/content/312728

ทำไมเด็กไทยถึงอ่อนวิชาคณิตศาตร์3


ผลสำรวจสาเหตุเด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์และแนวทางแก้ไข
  รศ.ดร.สมวงษ์ แปลงประสพโชค 
                                                           ดร. จรรยา  ภูอุดม
                
                  จากการประเมินผลการศึกษาระดับชาติพบว่าเด็กไทยมีผลการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำทุกปี
คณะผู้วิจัย จึงได้ศึกษาสำรวจความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุที่เด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์ และแนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยเก็บข้อมูลดังนี้
                       1. จัดสัมมนาครู อาจารย์หัวหน้าหมวดคณิตศาสตร์ นักการศึกษาคณิตศาสตร์จำนวน 118 คน ในหัวข้อ เรื่อง     “ ทำอย่างไรให้เด็กไทยเก่งคณิตศาสตร์ 
                             2. สัมภาษณ์อาจารย์ นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญจาก 6 มหาวิทยาลัย จำนวน 12 คน                        
                      3. สำรวจความเห็นของครูผู้สอนคณิตศาสตร์จำนวน 474 คน และนักเรียน 971 คน จากโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรใหม่ 169 โรงเรียน โดยใช้แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ
             4. สำรวจความเห็นของนักเรียนที่เข้าสอบแข่งขันชิงแชมป์การคิดและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ครั้งที่ 6 / 2546 จำนวน 1,811 คนเกี่ยวกับแนวทางที่จะทำให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์โดยใช้แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ

ผลสำรวจสาเหตุเด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์
                       ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ 474 คน และนักเรียน 971 คน จากโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรใหม่169 โรงเรียน มีความเห็นว่าสาเหตุที่เด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์เนื่องมาจากองค์ประกอบดังนี้
                  1. ด้านนักเรียน ครูมีความเห็นว่าสาเหตุที่เด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์ เกิดจากนักเรียนไม่ชอบคิด ไม่ชอบแก้ปัญหา ขาดการฝึกฝนและทบทวนด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ  แต่นักเรียนมีความเห็นในสาเหตุดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง                                   
                   2. ด้านผู้ปกครอง ครูมีความเห็นในระดับมากว่าผู้ปกครองมีการศึกษาน้อยเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์ แต่นักเรียนมีความคิดเห็นในข้อดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง และนักเรียนทั้งสองระดับยังเห็นว่าการที่ผู้ปกครองไม่สนับสนุนหรือเอาใจใส่การเรียนของนักเรียนเป็นสาเหตุในระดับน้อย
                       3. ด้านหลักสูตร ครู มีความเห็นในระดับมากว่าสาเหตุที่เด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์อันเนื่องมาจาก สื่อการสอนและเครื่องอำนวยการสอนไม่เพียงพอ แต่นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความเห็นในสาเหตุดังกล่าวระดับปานกลาง และนักเรียนระดับประถมศึกษามีความเห็นในสาเหตุดังกล่าวในระดับน้อย
                       4. ด้านครูผู้สอน นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความเห็นว่า สาเหตุที่เด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์เนื่องมาจากครูได้แก่ ครูสอนไม่ดี อธิบายไม่รู้เรื่อง ครูดุ เจ้าอารมณ์ ครูไม่เข้มงวดในการทำการบ้าน ครูสอนจริงจังบรรยากาศเครียดขาดอารมณ์ขัน ครูไม่อดทนที่จะอธิบายให้เด็กเข้าใจ ครูไม่ใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจ ครูให้นักเรียนอ่านเองสรุปเองแล้วมาสอบ วิธีสอนของครูไม่น่าสนใจ ครูมีความรู้ไม่ดี ขาดความมั่นใจตนเอง ครูไม่จบสาขาวิชาคณิตศาสตร์โดยตรง ครูไม่เปิดใจกว้างให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ ครูขาดแรงจูงใจ   ครูสอนโดยไม่เน้นการคิดแก้ปัญหาและไม่เน้นการนำไปใช้ในชีวิตจริง ครูมีภาระงานที่รับผิดชอบในโรงเรียนมากไป แต่ครูมีความเห็นตรงกับเด็กเพียง 4 ประเด็นได้แก่   ครูให้ นักเรียนอ่านเองสรุปเองแล้วมาสอบ ครูมีความรู้ไม่ดี ขาดความมั่นใจตนเอง ครูไม่จบสาขาวิชาคณิตศาสตร์โดยตรง และครูไม่เปิดใจกว้างให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ เป็นเหตุให้เด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์ และนักเรียนในระดับประถมศึกษามีความเห็นทุกข้อที่กล่าวมาในระดับปานกลาง
                 
ครูคณิตศาสตร์ที่นักเรียนต้องการ
                       ผลการสำรวจความเห็นของนักเรียนในโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรใหม่มีความเห็นเกี่ยวกับครูคณิตศาสตร์ที่นักเรียนต้องการดังนี้
                       เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูคณิตศาสตร์  ควรเป็นคนใจดี เข้าใจและเห็นใจนักเรียน เอาใจใส่ ห่วงใย  นักเรียน  ทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์  เป็นคนมีอารมณ์ขัน เป็นคนมีเมตตาธรรม จริยธรรม  อดทนที่จะอธิบายให้นักเรียนรู้เรื่อง และไม่ดุไม่ระบายอารมณ์โกรธในห้องเรียนคณิตศาสตร์ 
                       เกี่ยวกับความสามารถในการสอนของครู นักเรียนเห็นว่า ครูควรสามารถสอนคณิตศาสตร์ให้เข้าใจง่าย มีวิธีสอนหลากหลายน่าสนใจ สอนสนุก สอนให้นักเรียนนำความรู้ไปแก้ปัญหาได้ เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วม สามารถโน้มน้าวให้เด็กสนใจเรียนคณิตศาสตร์ ใช้สื่อการสอนช่วยให้เกิดความสนใจ ทบทวนนิยาม สูตร กฎ ให้นักเรียนสม่ำเสมอ ให้คำแนะนำชี้แนวทางให้นักเรียนได้คิดเอง ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าและรักคณิตศาสตร์
                       เกี่ยวกับความรู้ทางคณิตศาสตร์  ครูควรมีความรู้ในเนื้อหาคณิตศาสตร์ดี สามารถใช้วิธีหลากหลายในการทำโจทย์คณิตศาสตร์ ครูควรคิดว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากสำหรับทุกคน มีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรคณิตศาสตร์  มีความเข้าใจในธรรมชาติและพัฒนาการของนักเรียน

                      
ทำอย่างไรให้เด็กไทยเก่งคณิตศาสตร์                   
                       นักเรียนระดับประถมศึกษาที่เข้าสอบสอบแข่งขันชิงแชมป์การคิดและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ 1,811 คนได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางที่จะทำให้เด็กไทยเก่งคณิตศาสตร์ดังนี้
                     1. คุณสมบัติของนักเรียน   นักเรียนต้องสนใจเรียน เรียนด้วยความเข้าใจ เห็นคุณค่าของวิชาคณิตศาสตร์ ชอบคิดคำนวณ ชอบคิดชอบแก้ปัญหา สามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหา  ฝึกฝนและทบทวนด้วยตนเองสม่ำเสมอ มีพื้นฐานความรู้คณิตศาสตร์ดี และควรกล้าซักถามกล้าแสดงออก
                    2. คุณสมบัติของผู้ปกครอง  ผู้ปกครองควรสนับสนุนหรือเอาใจใส่การเรียนของนักเรียนและให้คำปรึกษา  ควรมีการศึกษาอย่างน้อยมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป และฐานะทางเศรษฐกิจไม่ขัดสน 
                     3. คุณสมบัติของหลักสูตร  หลักสูตรที่จะทำให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์ควรมีเนื้อหาวิชาหลากหลาย ควรมีเนื้อหายากบ้าง เวลาเรียนต้องเพิ่มมากกว่าปัจจุบัน ผู้บริหารของโรงเรียนควรสนับสนุนทุกด้าน สื่อการสอนและเครื่องอำนวยการสอนต้องมีพอเพียง จำนวนนักเรียนในแต่ละห้องควรมีจำนวนที่ไม่มากจนเกินไป
                    4. คุณสมบัติของครูคณิตศาสตร์   ครูคณิตศาสตร์ต้องสอนดี อธิบายรู้เรื่อง  อดทนที่จะอธิบายให้เด็กเข้าใจ ใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจ วิธีสอนของครูควรน่าสนใจ มีความรู้ดี มีความมั่นใจในตนเอง  สอนโดยเน้นการคิดแก้ปัญหาและเน้นการนำไปใช้  ให้โอกาสนักเรียนตอบอย่างอิสระ มีแรงจูงใจในการทำงาน  มีภาระงานพอดีเพื่อมีเวลาให้เด็ก  ฝึกให้นักเรียนอ่านเองและสรุปเองบ้าง  เข้มงวดในการทำการบ้านและตรวจสม่ำเสมอ สอนจริงจังแต่ไม่ดุไม่เจ้าอารมณ์   จบสาขาคณิตศาสตร์โดยตรง  

ปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
                       จากการสัมมนาครู อาจารย์หัวหน้าหมวดคณิตศาสตร์ นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์จำนวน 118 คน ในหัวข้อ เรื่อง              ทำอย่างไรให้เด็กไทยเก่งคณิตศาสตร์  และการสัมภาษณ์อาจารย์ นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญจาก 6 มหาวิทยาลัย จำนวน 12 คน  ได้ข้อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนและการแก้ปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ดังนี้

                       เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ครูแนะนำและสาธิตแล้วให้นักเรียนปฏิบัติ ให้นักเรียนแสดงความคิดเองอย่างมีเหตุผล ให้นักเรียนฝึกคิดวิเคราะห์  ครูผู้สอนต้องอธิบายให้เข้าใจก่อนแล้วจึงให้จำ  ครูอย่าด่วนสรุปเพราะจะทำให้นักเรียนไม่คิด มีการใช้สื่อบ้าง ใช้สภาพที่อยู่ในชีวิตจริงของนักเรียนมาใช้เป็นบริบทในการเรียน ให้ใช้สิ่งตีพิมพ์หรือสื่อโฆษณาเป็นแหล่งความรู้ในชุมชน ใช้ของจริงและของจำลองเป็นสื่อการสอน ให้นักเรียนรู้จักคิดเอง ทำเอง แก้ปัญหาเอง ควรมีวิธีการสอนที่หลากหลาย ใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือบ้างเพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกับเพื่อน ควรใช้การสอนแบบถามตอบและร่วมกันแสดงความคิดเห็นบ้าง บางครั้งอาจสอนโดยแบ่งเป็นฐานโดยกำหนดให้ทำงานกลุ่มหมุนเวียน นักเรียนจะได้รู้จักการแบ่งงานและช่วยเหลือกัน เนื้อหาบางเนื้อหาที่น่าเบื่อ ควรนำ เกม เพลงมาช่วยบางโอกาส


อ้างอิง : www.ripn-math.com/doc/25510502/child_low_math.doc

ทำไมเด็กไทยถึงอ่อนวิชาคณิตศาสตร์2


ทำไมเด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์
                                                                                                                                   รศ.ดร.สมวงษ์ แปลงประสพโชค
                                    ผลการวิจัยโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ร่วมกับนานาชาติ ปี 2550 (Trends in International Mathematics and Science Study 2007) หรือ TIMSS-2007 ซึ่งเป็นโครงการประเมินนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระหว่างปี 2547-2551 โดยมี 59 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี นอร์เวย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไทย ฯลฯ และ 8 รัฐเข้าร่วม ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมวิชาคณิตศาสตร์ ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 5 ประเทศ ได้แก่ จีน-ไทเป เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29 ได้ 441 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนสูงสุด 5 ประเทศ คือ สิงคโปร์ จีน-ไทเป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอังกฤษ ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 21 ได้ 471 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ 500 คะแนนเช่นกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับผลประเมินปี 2542 พบว่า ประเทศไทยลดลงทั้ง 2 วิชา คือ คณิตศาสตร์ จาก 467 คะแนน เหลือ 441 คะแนน และวิทยาศาสตร์ จาก 482 คะแนน เหลือ 471 คะแนน
              ดร.ปรีชาญ เดชศรี(10 ธันวาคม 2552 ) รองผู้อำนวยการ สสวท.กล่าวว่า ในประเทศไทยเมื่อแยกตามสังกัดพบว่า โรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้คะแนนสูงสุด รองลงมาคือ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และต่ำสุดคือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และยังพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่จะมีคะแนนอยู่ในระดับสูง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กจะมีคะแนนต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนเอกชนมีความพร้อมมากกว่าโรงเรียนของรัฐ และโรงเรียนขนาดเล็กยังมีปัญหา ดังนั้นรัฐบาลจึงควรทุ่มเททรัพยากรเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กเป็นพิเศษ สำหรับสาเหตุที่ผลสัมฤทธิ์ทั้ง 2 วิชาต่ำกว่าการประเมินครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศไทยมีการขยายฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงทำให้คะแนนเฉลี่ยภาพรวมลดลง รวมถึงการมีโรงเรียน ขนาดเล็กมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ สสวท. มีแผนจะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 2 วิชาของเด็กไทย ให้มีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติให้ได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า
               ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร รอง ผอ. สสวท. กล่าวว่า ผลการวิจัยยังระบุว่าประเทศไทยจัดเวลาเรียน 2 วิชาดังกล่าวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก คือประมาณ 35 คาบต่อสัปดาห์ สะท้อนให้เห็นว่า การจัดเวลาเรียนมาก ๆ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น ซึ่งพรพรรณ มองว่าเหตุผลที่ทำให้คะแนนต่ำลง เพราะปัญหาขาดแคลนครูเป็นหลัก โดยเฉพาะนโยบายลดอัตรากำลังคนตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ในขณะที่ไม่มีมาตรการจูงใจให้คนเก่งเข้ามาเป็นครู 
             ศ.ดร.ณรงค์ ปั้นนิ่ม ศาสตราจารย์สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประธานคณะกรรมการผู้ดูแลวิชาคณิตศาสตร์ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า เด็กไทยได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ ทั้งนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 2 วิชายังต่ำกว่าช่วงปี 2542 – 2546 นั้น เป็นปัญหาที่หมักหมมอยู่ในระบบการเรียนการสอนในสังคมไทยมานานมาก สืบเนื่องจากครูไทยใช้ระบบข้อสอบปรนัยวัดผลเด็ก
               นอกจากการวัดผลแล้ว การฝึกเด็กก็ยังใช้ข้อสอบปรนัย ซึ่งเป็นข้อสอบที่ไม่ได้พัฒนาระบบคิด การใช้เหตุผล ข้อสอบปรนัยเป็นข้อสอบที่ทำลายเด็กไทยอย่างมาก คนที่มาเรียนครูก็ถูกมอมเมาด้วยข้อสอบปรนัย มาเป็นครูก็ใช้ข้อสอบปรนัย เด็กบางคนทำข้อสอบโดยไม่ต้องอ่านคำถามใช้วิธีสุ่มเดาก็สามารถสอบผ่านได้
               .ดร.ณรงค์ กล่าวว่า สังคมการศึกษาไทยบริโภคข้อสอบปรนัยมาตั้งแต่ปี 2516 ถึงตอนนี้เป็นเวลาถึง 35 ปีแล้ว ครูทุกวันนี้ก็มุ่งสอนเพื่อหวังให้เด็กไปสอบเรียนต่อให้ได้ มีการสอนวิธีลัด สอนเทคนิค แต่เราไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กเกิดความรู้ การสอนเพื่อให้เด็กสอบเข้าเรียนได้กับการสอนให้เด็กมีความรู้จึงไม่เหมือนกัน เด็กทุกวันนี้จึงชอบไปกวดวิชาเพราะชอบเรียนลัด ชอบไปเรียนเทคนิคการทำข้อสอบ เมื่อสอบเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยบางคนยังต้องไปกวดวิชา เราจะเห็นเด็กมหาวิทยาลัยหลายแห่งยังต้องไปกวดวิชา เพราะเมื่อมาเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเขาปรับตัวเองไม่ได้ มาเจอข้อสอบอัตนัยหรือข้อสอบที่ให้คิดวิเคราะห์แล้วเขียนออกมา เด็กจึงมีปัญหา จะเห็นว่าผลพวงที่ใช้ข้อสอบปรนัยกับเด็กนั้นทำลายเด็กเป็นอย่างมาก ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูง ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และมาเลเซีย จะไม่ใช้ข้อสอบปรนัยกับเด็ก
                     สมวงษ์ แปลงประสพโชค เดช บุญประจักษ์ และจรรยา ภูอุดม(2550)ได้สำรวจความเห็นของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ 474 คน และนักเรียน 971 คน จากโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรพุทธศักราช 2542 จำนวน 169 โรงเรียน มีความเห็นว่าสาเหตุที่นักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์เนื่องมาจากองค์ประกอบดังนี้
                      1. เกี่ยวกับนักเรียน ครูมีความเห็นในระดับมากว่าสาเหตุที่นักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์ เกิดจากนักเรียนไม่ชอบคิด ไม่ชอบแก้ปัญหา ขาดการฝึกฝนและทบทวนด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ แต่นักเรียนมีความเห็นในสาเหตุดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง                                   
                      2. เกี่ยวกับผู้ปกครอง ครูมีความเห็นในระดับมากว่าผู้ปกครองมีการศึกษาน้อยและผู้ปกครองไม่สนับสนุนหรือเอาใจใส่การเรียนของนักเรียนเป็นสาเหตุที่ทำให้นักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์ แต่นักเรียนมีความคิดเห็นในข้อการศึกษาของผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง และเห็นว่าการที่ผู้ปกครองไม่สนับสนุนหรือเอาใจใส่การเรียนของนักเรียนเป็นสาเหตุในระดับน้อย
                        3. เกี่ยวกับหลักสูตร ครู มีความเห็นในระดับมากว่าสาเหตุที่นักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์อันเนื่องมาจาก สื่อการสอนและเครื่องอำนวยการสอนไม่เพียงพอ แต่นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความเห็นในสาเหตุดังกล่าวระดับปานกลาง และนักเรียนระดับประถมศึกษามีความเห็นในสาเหตุดังกล่าวในระดับน้อย

                           4. เกี่ยวกับครูผู้สอน นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความเห็นในระดับมากว่า สาเหตุที่นักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์เนื่องมาจากครูได้แก่ ครูสอนไม่ดี อธิบายไม่รู้เรื่อง ครูดุ เจ้าอารมณ์ ครูไม่เข้มงวดในการทำการบ้าน ครูสอนจริงจังบรรยากาศเครียดขาดอารมณ์ขัน ครูไม่อดทนที่จะอธิบายให้นักเรียนเข้าใจ ครูไม่ใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจ ครูให้นักเรียนอ่านเองสรุปเองแล้วมาสอบ วิธีสอนของครูไม่น่าสนใจ ครูมีความรู้ไม่ดี ขาดความมั่นใจตนเอง ครูไม่จบสาขาวิชาคณิตศาสตร์โดยตรง ครูไม่เปิดใจกว้างให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ ครูขาดแรงจูงใจ   ครูสอนโดยไม่เน้นการคิดแก้ปัญหาและไม่เน้นการนำไปใช้ในชีวิตจริง ครูมีภาระงานที่รับผิดชอบในโรงเรียนมากไป แต่ครูมีความเห็นในระดับมากตรงกับนักเรียนเพียง 4 ประเด็นได้แก่   ครูให้นักเรียนอ่านเองสรุปเองแล้วมาสอบ ครูมีความรู้ไม่ดี ขาดความมั่นใจในตนเอง ครูไม่จบสาขาวิชาคณิตศาสตร์โดยตรง และครูไม่เปิดใจกว้างให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ  แต่นักเรียนในระดับประถมศึกษามีความเห็นทุกข้อที่กล่าวมาในระดับปานกลาง

อ้างอิง : www.ripn-math.com/doc/25520515/whykid.doc