หน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ
1. จัดประชุมปรึกษาหารือระหว่าง
"รัฐ"
2. วางกฎเกณฑ์ต่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง
"รัฐ"
3. จัดสรรทรัพยากร (resource
allocation)
4. เสนอการใช้วิธีป้องกันร่วมกัน
(collective defence)
5. เสนอการใช้วิธีปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
6. ส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในด้านต่าง
ๆ
ความสำคัญขององค์การระหว่างประเทศ
การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ เป็นไปด้วยความสมัครใจของรัฐที่จะอยู่รวมกลุ่มกัน โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน องค์การระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญ ดังนี้
1. เป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนของรัฐมาประชุมพบปะกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน
2. ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเวทีสำหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน
3. รัฐได้รู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือที่เป็นสถาบัน และวิธีการที่เป็นระบบ การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศจึงเป็นทางออกของรัฐ ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์และ วางหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติต่อไป
การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ เป็นไปด้วยความสมัครใจของรัฐที่จะอยู่รวมกลุ่มกัน โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน องค์การระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญ ดังนี้
1. เป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนของรัฐมาประชุมพบปะกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน
2. ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเวทีสำหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน
3. รัฐได้รู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือที่เป็นสถาบัน และวิธีการที่เป็นระบบ การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศจึงเป็นทางออกของรัฐ ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์และ วางหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติต่อไป
ในที่นี้
ขอกล่าวถึงองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่
1. องค์การสหประชาชาติ (The United Nations : UN)
องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลก ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยมีประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 51 ประเทศ ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ค.ศ. 1946 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นยุโรปตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ปัจจุบันมีสมาชิก 192 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศเอกราชต่างๆ จากทุกภูมิภาคของโลก
วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ
กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ ดังนี้
1) เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2) เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดหลักการเคารพต่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน
3) เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรม และการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นมูลฐานของมนุษย์ โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่อง เชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา
4) เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งการประสานงานของประชาชาติทั้งมวลให้กลมกลืนกัน อันจะนำไปสู่จุดหมายปลายทางร่วมกัน
กล่าวได้ว่าองค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์ที่จะขจัดภัยพิบัติอันเกิดจากสงคราม ประกันสิทธิมนุษยชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของมวลมนุษยชาติ
องค์กรขององค์การสหประชาชาติ
องค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ ที่มีความสำคัญ ได้แก่
1) สมัชชา (General Assembly)
สมัชชา คือ ที่ประชุมของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ซึ่งทุกประเทศมีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง สมัชชามีหน้าที่พิจารณาให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ภายในกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ นอกจากนั้นยังคอยกำหนดเป้าหมายและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆ เรียกร้องให้มีการประชุมระดับโลกในหัวข้อสำคัญๆ และกำหนดปีสากลเพื่อเน้นความสนใจในประเด็นที่สำคัญๆ ของโลกสมัชชามีการประชุมสมัยสามัญปีละครั้ง การลงคะแนนเสียงในเรื่องทั่วไปๆ ใช้เสียงข้างมาก แต่ถ้าเป็นปัญหาสำคัญจะต้องได้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
2) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council)
คณะมนตรีความมั่นคง เป็นองค์กรที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะเข้าไปแก้ไขวิกฤตการณ์หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศของทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของสหประชาชาติหรือไม่ก็ตาม คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกถาวร 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี ในกรณีประเทศสมาชิกถาวรประเทศใดประเทศหนึ่งออกเสียงคัดค้าน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) อันจะมีผลทำให้เรื่องนั้น ๆ ตกไป ในยุคของสงครามเย็น การดำเนินงานของคณะมนตรีความมั่นคงประสบกับสภาวะชะงักงัน เนื่องจากการใช้สิทธิยับยั้งของประเทศมหาอำนาจ ปัจจุบันสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงไม่ว่าจะเป็นสมาชิกถาวรหรือไม่ก็ตาม จะต้องงดเว้นการออกเสียง เมื่อมีการพิจารณาปัญหาข้อพิพาทที่ตนเป็นคู่กรณีด้วย
3) สำนักเลขาธิการ (The Secretariat)
เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการองค์กรอื่นๆ ของสหประชาชาติ ประกอบกับ การดำเนินงานตามนโยบายและบริหารโครงการตามที่องค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติ กำหนดไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งมาจากประเทศที่เป็นสมาชิกร่วมกันปฏิบัติงาน และมีเลขาธิการสหประชาชาติเป็นหัวหน้าองค์กร เลขาธิการสหประชาชาติเป็น ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากสมัชชาใหญ่ มีวาระคราวละ 5 ปี โดยหลักของการ เลขาธิการจะมาจากประเทศที่เป็นกลางหรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หน้าที่สำคัญของเลขาธิการ คือ การรายงานสถานการณ์ระหว่างประเทศ ที่กระทบต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบ และทำหน้าที่ทางการทูตของสหประชาชาติ
4) ทบวงการชำนัญพิเศษ (Specialized Agencies)1. องค์การสหประชาชาติ (The United Nations : UN)
องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลก ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยมีประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 51 ประเทศ ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ค.ศ. 1946 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นยุโรปตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ปัจจุบันมีสมาชิก 192 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศเอกราชต่างๆ จากทุกภูมิภาคของโลก
วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ
กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ ดังนี้
1) เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2) เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดหลักการเคารพต่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน
3) เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรม และการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นมูลฐานของมนุษย์ โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่อง เชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา
4) เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งการประสานงานของประชาชาติทั้งมวลให้กลมกลืนกัน อันจะนำไปสู่จุดหมายปลายทางร่วมกัน
กล่าวได้ว่าองค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์ที่จะขจัดภัยพิบัติอันเกิดจากสงคราม ประกันสิทธิมนุษยชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของมวลมนุษยชาติ
องค์กรขององค์การสหประชาชาติ
องค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ ที่มีความสำคัญ ได้แก่
1) สมัชชา (General Assembly)
สมัชชา คือ ที่ประชุมของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ซึ่งทุกประเทศมีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง สมัชชามีหน้าที่พิจารณาให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ภายในกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ นอกจากนั้นยังคอยกำหนดเป้าหมายและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆ เรียกร้องให้มีการประชุมระดับโลกในหัวข้อสำคัญๆ และกำหนดปีสากลเพื่อเน้นความสนใจในประเด็นที่สำคัญๆ ของโลกสมัชชามีการประชุมสมัยสามัญปีละครั้ง การลงคะแนนเสียงในเรื่องทั่วไปๆ ใช้เสียงข้างมาก แต่ถ้าเป็นปัญหาสำคัญจะต้องได้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
2) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council)
คณะมนตรีความมั่นคง เป็นองค์กรที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะเข้าไปแก้ไขวิกฤตการณ์หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศของทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของสหประชาชาติหรือไม่ก็ตาม คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกถาวร 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี ในกรณีประเทศสมาชิกถาวรประเทศใดประเทศหนึ่งออกเสียงคัดค้าน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) อันจะมีผลทำให้เรื่องนั้น ๆ ตกไป ในยุคของสงครามเย็น การดำเนินงานของคณะมนตรีความมั่นคงประสบกับสภาวะชะงักงัน เนื่องจากการใช้สิทธิยับยั้งของประเทศมหาอำนาจ ปัจจุบันสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงไม่ว่าจะเป็นสมาชิกถาวรหรือไม่ก็ตาม จะต้องงดเว้นการออกเสียง เมื่อมีการพิจารณาปัญหาข้อพิพาทที่ตนเป็นคู่กรณีด้วย
3) สำนักเลขาธิการ (The Secretariat)
เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการองค์กรอื่นๆ ของสหประชาชาติ ประกอบกับ การดำเนินงานตามนโยบายและบริหารโครงการตามที่องค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติ กำหนดไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งมาจากประเทศที่เป็นสมาชิกร่วมกันปฏิบัติงาน และมีเลขาธิการสหประชาชาติเป็นหัวหน้าองค์กร เลขาธิการสหประชาชาติเป็น ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากสมัชชาใหญ่ มีวาระคราวละ 5 ปี โดยหลักของการ เลขาธิการจะมาจากประเทศที่เป็นกลางหรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หน้าที่สำคัญของเลขาธิการ คือ การรายงานสถานการณ์ระหว่างประเทศ ที่กระทบต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบ และทำหน้าที่ทางการทูตของสหประชาชาติ
เป็นองค์กรอิสระและปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ผูกพันกับองค์การสหประชาชาติตามข้อตกลงพิเศษ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งที่เป็นและไม่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ โดยมี คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมกับสมัชชา เป็นองค์กรประสานงาน ทบวงการชำนัญพิเศษมี 16 องค์กร ดังนี้
1. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)
2. องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO)
3. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nation Educational Scientific and Cultural Organization : UNESCO)
4. องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
5. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)
6. ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development : IBRD)
7. สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Association : IDA)
8. บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation : IFC)
9. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO)
10. สหภาพไปรษณีย์สากล (Universal Postal Union : UPU)
11. สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU)
12. องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO)
13. องค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO)
14. องค์การทรัพย์สินทางพุทธิปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization : WIPO)
15. กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development : IFAD)
16. องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization : UNIDO)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น