องค์การระหว่างประเทศอิสระ
(Autonomous International Organization) องค์การนี้มิใช่ทบวงการชำนาญพิเศษ
แต่ถือว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับองค์การ
ดังกล่าว ที่สำคัญมีดังนี้
1. ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA - International Atomic Energy Agency) มีหน้าที่แสวงหาลู่ทางในการส่งเสริมและขยายการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในทางสันติ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแห่งโลก
2. ความตกลงทั่วไปด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (GATT - General Agreement on Tariffs and Trade) มีหน้าที่แสวงหาความร่วมมือในการป้องกันการกีดกันทางการค้า คุ้มกันและสร้างกรอบของการเจรจาเพื่อลดพิกัดอัตราภาษีและค่าผ่านแดนอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศโดยผ่านการเจรจาและออกเป็นข้อบัญญัติทางกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมี โครงการ/คณะมนตรี/และคณะกรรมการอื่นๆ (Programmes, Councils and Commissions) ซึ่งสมัชชาหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจัดตั้งขึ้น เพื่ออำนวยความช่วยเหลือแก่เลขาธิการสหประชาชาติ ที่สำคัญมีดังนี้
1. สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR - UN High Commissioner for Refugees)
2. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF - UN Children’s Fund)
3. ที่ประชุมสหประชาชาติเรื่องการค้าและการพัฒนา (UNCTAD - UN Conference on Trade and Development)
4. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP - UN Development Programme)
5. โครงการอาหารโลก (WFC - World Food Programme)
6. สภาอาหารโลก (WFC- World Food Council)
7. โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP - UN Environment Programme)
8. กองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA - UN Fund for Population Activities)
9. กองทุนเพื่อควบคุมการใช้ยาในทางที่ผิดแห่งสหประชาชาติ (UNFDAC - UN Fund for Drug Abuse Control)
10. คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB - International Narcotics Control Board)
11. สถาบันเพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR - UN Institute for Training and and Research)
12. สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ใน ตะวันออกใกล้ (UNRWA - UN Relief and Works Agency for Palestine Refugees in the Near East)
13. สำนักงานบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟูแห่งสหประชาชาติ (UNRRA - The United Nations Relief and Rehabilitation Administration )
1. ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA - International Atomic Energy Agency) มีหน้าที่แสวงหาลู่ทางในการส่งเสริมและขยายการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในทางสันติ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแห่งโลก
2. ความตกลงทั่วไปด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (GATT - General Agreement on Tariffs and Trade) มีหน้าที่แสวงหาความร่วมมือในการป้องกันการกีดกันทางการค้า คุ้มกันและสร้างกรอบของการเจรจาเพื่อลดพิกัดอัตราภาษีและค่าผ่านแดนอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศโดยผ่านการเจรจาและออกเป็นข้อบัญญัติทางกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมี โครงการ/คณะมนตรี/และคณะกรรมการอื่นๆ (Programmes, Councils and Commissions) ซึ่งสมัชชาหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจัดตั้งขึ้น เพื่ออำนวยความช่วยเหลือแก่เลขาธิการสหประชาชาติ ที่สำคัญมีดังนี้
1. สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR - UN High Commissioner for Refugees)
2. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF - UN Children’s Fund)
3. ที่ประชุมสหประชาชาติเรื่องการค้าและการพัฒนา (UNCTAD - UN Conference on Trade and Development)
4. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP - UN Development Programme)
5. โครงการอาหารโลก (WFC - World Food Programme)
6. สภาอาหารโลก (WFC- World Food Council)
7. โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP - UN Environment Programme)
8. กองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA - UN Fund for Population Activities)
9. กองทุนเพื่อควบคุมการใช้ยาในทางที่ผิดแห่งสหประชาชาติ (UNFDAC - UN Fund for Drug Abuse Control)
10. คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB - International Narcotics Control Board)
11. สถาบันเพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR - UN Institute for Training and and Research)
12. สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ใน ตะวันออกใกล้ (UNRWA - UN Relief and Works Agency for Palestine Refugees in the Near East)
13. สำนักงานบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟูแห่งสหประชาชาติ (UNRRA - The United Nations Relief and Rehabilitation Administration )
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ทำให้เกิดร่วมมือระหว่างประเทศ ที่ครอบคลุมการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ดังนี้
การรักษาสันติภาพ คณะมนตรีความมั่นคงได้ดำเนินมาตรการบีบบังคับทั้งที่ไม่ใช้กำลังอาวุธและใช้กำลังอาวุธโดยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในสงครามเกาหลี ปี ค.ศ. 1950 และสงครามอ่าวเปอร์เซียในกรณีที่อิรักส่งทหารเข้ายึดครองคูเวต ค.ศ. 1991 นอกจากนั้นสหประชาชาติยังรับหน้าที่เจรจาแก้ไขความขัดแย้ง เช่น การยุติสงครามอิรัก-อิหร่าน การถอนทหารโซเวียตออกจากอัฟกานิสถาน การยุติความขัดแย้งในกัมพูชา
การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติโดยคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนได้สืบสวนเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และได้กระตุ้นให้ประชาคมโลกสนใจในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ จนก่อให้เกิดแรงกดดันระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศนั้น ๆ การปกป้องสิ่งแวดล้อมและชั้นโอโซน สหประชาชาติได้จัดประชุมนานาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ที่ริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ใน ค.ศ. 1992 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อรักษาระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกไม่ให้โลกร้อนขึ้น และลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รับรองแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา เพื่อบรรลุถึงการพัฒนาแบบยั่งยืนและได้จัดประชุมนาชาติชี้ให้เห็นอันตรายจากการสูญเสียชั้นโอโซน ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะที่ผ่านมา การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) ได้ให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเกือบ 3 ล้านชิ้น กฎดังกล่าวยังมีผลให้การคุ้มครองผลงานของศิลปิน นักประพันธ์เพลงนักเขียนทั่วโลก การอนุรักษ์และบูรณะสถานที่สำคัญ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะสถานที่สำคัญ ที่เป็นโบราณสถานทางประวัตศาสตร์ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม ใน 81 ประเทศ เช่น กรีซ อียิปต์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และไทย นอกจากนี้ยังได้จัดประชุมนานาชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น