องค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง
องค์การที่ประเทศหรือรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกัน จัดตั้งขึ้น
เพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่างๆเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาติ
หน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ
1. จัดประชุมปรึกษาหารือระหว่าง
"รัฐ"
2. วางกฎเกณฑ์ต่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง
"รัฐ"
3. จัดสรรทรัพยากร (resource
allocation)
4. เสนอการใช้วิธีป้องกันร่วมกัน
(collective defence)
5. เสนอการใช้วิธีปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
6. ส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในด้านต่าง
ๆ
องค์กรหลักระหว่างประเทศในเครือสหประชาชาติ
ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
นครนิวยอร์ก มี 5 องค์กร คือ
- สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ OHRLLS
- สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
- กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA)
- กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)
กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มี 2 องค์กร คือ
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
- ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ
(World Bank Group)
เมืองมอลทรีออล
มี 1 องค์กร
คือ
-
องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
เมืองซานโตโดมินโก มี 1 องค์กรคือ
-
INSTRAW
เมืองซานติเอโก มี 1 องค์กร คือ
-
ECLAC
ทวีปยุโรป
รวม 21 องค์กร ได้แก่
กรุงเจนีวา มี 10 องค์กร คือ
-
ECE
-
ILO
-
International Telecommunication Union (ITU)
-
OHCHR
-
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา
(UNCTAD)
-
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
(UNHCR)
-
องค์การอนามัยโลก (WHO)
-
WIPO
-
องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO)
-
องค์การการค้าโลก (WTO) (Trade)
กรุงเวียนนา มี 3 องค์กร คือ
-
IAEA
-
UNIDO
-
UNODC
-
OPEC
กรุงโรม
มี 3 องค์กร คือ
-
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
(FAO)
-
IFAD
-
WFP
กรุงลอนดอน มี 1 องค์กร คือ
-
IMO
กรุงปารีส มี 1 องค์กร คือ
-
องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(UNESCO)
กรุงมาดริด มี 1 องค์กร คือ
-
WTO (Tourism)
กรุงเฮก มี 1 องค์กร คือ
-
ICJ
กรุงเบอร์น มี 1 องค์กร คือ
-
สหภาพสากลไปรษณีย์ (UPU)
ทวีปแอฟริกา
รวม 3 องค์กรคือ
กรุงไนโรบี
มี 2 องค์กร คือ
-
องค์การสิ่งแวดล้อมโลก (UNEP)
-
UN-HABITAT
กรุงแอดดิส
อบาบา มี 1 องค์กร คือ
-
ECA
ทวีปเอเชีย
รวม 4 องค์กรคือ
กรุงเบรุต มี 1 องค์กร คือ
-
ESCWA
กรุงกาซา มี 1 องค์กร คือ
-
UNRWA
กรุงเทพฯ มี 1 องค์กร คือ
-
คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค
(ESCAP)
กรุงโตเกียว มี 1 องค์กร คือ
-
UNU
ความสำคัญขององค์การระหว่างประเทศ
การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ เป็นไปด้วยความสมัครใจของรัฐที่จะอยู่รวมกลุ่มกัน โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน องค์การระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญ ดังนี้
1. เป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนของรัฐมาประชุมพบปะกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน
2. ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเวทีสำหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน
3. รัฐได้รู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือที่เป็นสถาบัน และวิธีการที่เป็นระบบ การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศจึงเป็นทางออกของรัฐ ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์และ วางหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติต่อไป
การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ เป็นไปด้วยความสมัครใจของรัฐที่จะอยู่รวมกลุ่มกัน โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน องค์การระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญ ดังนี้
1. เป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนของรัฐมาประชุมพบปะกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน
2. ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเวทีสำหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน
3. รัฐได้รู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือที่เป็นสถาบัน และวิธีการที่เป็นระบบ การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศจึงเป็นทางออกของรัฐ ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์และ วางหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติต่อไป
ในที่นี้ ขอกล่าวถึงองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่
1. องค์การสหประชาชาติ (The United Nations : UN)
องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลก ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยมีประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 51 ประเทศ ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ค.ศ. 1946 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นยุโรปตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ปัจจุบันมีสมาชิก 192 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศเอกราชต่างๆ จากทุกภูมิภาคของโลก
วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ
กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ ดังนี้
1) เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2) เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดหลักการเคารพต่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน
3) เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรม และการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นมูลฐานของมนุษย์ โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่อง เชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา
4) เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งการประสานงานของประชาชาติทั้งมวลให้กลมกลืนกัน อันจะนำไปสู่จุดหมายปลายทางร่วมกัน
กล่าวได้ว่าองค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์ที่จะขจัดภัยพิบัติอันเกิดจากสงคราม ประกันสิทธิมนุษยชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของมวลมนุษยชาติ
องค์กรขององค์การสหประชาชาติ
องค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ ที่มีความสำคัญ ได้แก่
1) สมัชชา (General Assembly)
สมัชชา คือ ที่ประชุมของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ซึ่งทุกประเทศมีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง สมัชชามีหน้าที่พิจารณาให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ภายในกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ นอกจากนั้นยังคอยกำหนดเป้าหมายและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆ เรียกร้องให้มีการประชุมระดับโลกในหัวข้อสำคัญๆ และกำหนดปีสากลเพื่อเน้นความสนใจในประเด็นที่สำคัญๆ ของโลกสมัชชามีการประชุมสมัยสามัญปีละครั้ง การลงคะแนนเสียงในเรื่องทั่วไปๆ ใช้เสียงข้างมาก แต่ถ้าเป็นปัญหาสำคัญจะต้องได้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
2) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council)
คณะมนตรีความมั่นคง เป็นองค์กรที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะเข้าไปแก้ไขวิกฤตการณ์หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศของทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของสหประชาชาติหรือไม่ก็ตาม คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกถาวร 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี ในกรณีประเทศสมาชิกถาวรประเทศใดประเทศหนึ่งออกเสียงคัดค้าน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) อันจะมีผลทำให้เรื่องนั้น ๆ ตกไป ในยุคของสงครามเย็น การดำเนินงานของคณะมนตรีความมั่นคงประสบกับสภาวะชะงักงัน เนื่องจากการใช้สิทธิยับยั้งของประเทศมหาอำนาจ ปัจจุบันสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงไม่ว่าจะเป็นสมาชิกถาวรหรือไม่ก็ตาม จะต้องงดเว้นการออกเสียง เมื่อมีการพิจารณาปัญหาข้อพิพาทที่ตนเป็นคู่กรณีด้วย
3) สำนักเลขาธิการ (The Secretariat)
เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการองค์กรอื่นๆ ของสหประชาชาติ ประกอบกับ การดำเนินงานตามนโยบายและบริหารโครงการตามที่องค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติ กำหนดไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งมาจากประเทศที่เป็นสมาชิกร่วมกันปฏิบัติงาน และมีเลขาธิการสหประชาชาติเป็นหัวหน้าองค์กร เลขาธิการสหประชาชาติเป็น ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากสมัชชาใหญ่ มีวาระคราวละ 5 ปี โดยหลักของการ เลขาธิการจะมาจากประเทศที่เป็นกลางหรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หน้าที่สำคัญของเลขาธิการ คือ การรายงานสถานการณ์ระหว่างประเทศ ที่กระทบต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบ และทำหน้าที่ทางการทูตของสหประชาชาติ
4) ทบวงการชำนัญพิเศษ
(Specialized Agencies)
เป็นองค์กรอิสระและปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ผูกพันกับองค์การสหประชาชาติตามข้อตกลงพิเศษ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งที่เป็นและไม่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ โดยมี คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมกับสมัชชา เป็นองค์กรประสานงาน ทบวงการชำนัญพิเศษมี 16 องค์กร ดังนี้
1. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)
2. องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO)
3. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nation Educational Scientific and Cultural Organization : UNESCO)
4. องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
5. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)
6. ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development : IBRD)
7. สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Association : IDA)
8. บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation : IFC)
9. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO)
10. สหภาพไปรษณีย์สากล (Universal Postal Union : UPU)
11. สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU)
12. องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO)
13. องค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO)
14. องค์การทรัพย์สินทางพุทธิปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization : WIPO)
15. กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development : IFAD)
16. องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization : UNIDO)
องค์การระหว่างประเทศอิสระ (Autonomous International Organization) องค์การนี้มิใช่ทบวงการชำนาญพิเศษ แต่ถือว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับองค์การ ดังกล่าว ที่สำคัญมีดังนี้
1. ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA - International Atomic Energy Agency) มีหน้าที่แสวงหาลู่ทางในการส่งเสริมและขยายการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในทางสันติ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแห่งโลก
2. ความตกลงทั่วไปด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (GATT - General Agreement on Tariffs and Trade) มีหน้าที่แสวงหาความร่วมมือในการป้องกันการกีดกันทางการค้า คุ้มกันและสร้างกรอบของการเจรจาเพื่อลดพิกัดอัตราภาษีและค่าผ่านแดนอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศโดยผ่านการเจรจาและออกเป็นข้อบัญญัติทางกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมี โครงการ/คณะมนตรี/และคณะกรรมการอื่นๆ (Programmes, Councils and Commissions) ซึ่งสมัชชาหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจัดตั้งขึ้น เพื่ออำนวยความช่วยเหลือแก่เลขาธิการสหประชาชาติ ที่สำคัญมีดังนี้
1. สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR - UN High Commissioner for Refugees)
2. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF - UN Children’s Fund)
3. ที่ประชุมสหประชาชาติเรื่องการค้าและการพัฒนา (UNCTAD - UN Conference on Trade and Development)
4. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP - UN Development Programme)
5. โครงการอาหารโลก (WFC - World Food Programme)
6. สภาอาหารโลก (WFC- World Food Council)
7. โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP - UN Environment Programme)
8. กองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA - UN Fund for Population Activities)
9. กองทุนเพื่อควบคุมการใช้ยาในทางที่ผิดแห่งสหประชาชาติ (UNFDAC - UN Fund for Drug Abuse Control)
10. คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB - International Narcotics Control Board)
11. สถาบันเพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR - UN Institute for Training and and Research)
12. สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ใน ตะวันออกใกล้ (UNRWA - UN Relief and Works Agency for Palestine Refugees in the Near East)
13. สำนักงานบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟูแห่งสหประชาชาติ (UNRRA - The United Nations Relief and Rehabilitation Administration )
เป็นองค์กรอิสระและปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ผูกพันกับองค์การสหประชาชาติตามข้อตกลงพิเศษ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งที่เป็นและไม่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ โดยมี คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมกับสมัชชา เป็นองค์กรประสานงาน ทบวงการชำนัญพิเศษมี 16 องค์กร ดังนี้
1. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)
2. องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO)
3. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nation Educational Scientific and Cultural Organization : UNESCO)
4. องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
5. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)
6. ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development : IBRD)
7. สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Association : IDA)
8. บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation : IFC)
9. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO)
10. สหภาพไปรษณีย์สากล (Universal Postal Union : UPU)
11. สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU)
12. องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO)
13. องค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO)
14. องค์การทรัพย์สินทางพุทธิปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization : WIPO)
15. กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development : IFAD)
16. องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization : UNIDO)
องค์การระหว่างประเทศอิสระ (Autonomous International Organization) องค์การนี้มิใช่ทบวงการชำนาญพิเศษ แต่ถือว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับองค์การ ดังกล่าว ที่สำคัญมีดังนี้
1. ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA - International Atomic Energy Agency) มีหน้าที่แสวงหาลู่ทางในการส่งเสริมและขยายการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในทางสันติ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแห่งโลก
2. ความตกลงทั่วไปด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (GATT - General Agreement on Tariffs and Trade) มีหน้าที่แสวงหาความร่วมมือในการป้องกันการกีดกันทางการค้า คุ้มกันและสร้างกรอบของการเจรจาเพื่อลดพิกัดอัตราภาษีและค่าผ่านแดนอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศโดยผ่านการเจรจาและออกเป็นข้อบัญญัติทางกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมี โครงการ/คณะมนตรี/และคณะกรรมการอื่นๆ (Programmes, Councils and Commissions) ซึ่งสมัชชาหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจัดตั้งขึ้น เพื่ออำนวยความช่วยเหลือแก่เลขาธิการสหประชาชาติ ที่สำคัญมีดังนี้
1. สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR - UN High Commissioner for Refugees)
2. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF - UN Children’s Fund)
3. ที่ประชุมสหประชาชาติเรื่องการค้าและการพัฒนา (UNCTAD - UN Conference on Trade and Development)
4. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP - UN Development Programme)
5. โครงการอาหารโลก (WFC - World Food Programme)
6. สภาอาหารโลก (WFC- World Food Council)
7. โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP - UN Environment Programme)
8. กองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA - UN Fund for Population Activities)
9. กองทุนเพื่อควบคุมการใช้ยาในทางที่ผิดแห่งสหประชาชาติ (UNFDAC - UN Fund for Drug Abuse Control)
10. คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB - International Narcotics Control Board)
11. สถาบันเพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR - UN Institute for Training and and Research)
12. สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ใน ตะวันออกใกล้ (UNRWA - UN Relief and Works Agency for Palestine Refugees in the Near East)
13. สำนักงานบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟูแห่งสหประชาชาติ (UNRRA - The United Nations Relief and Rehabilitation Administration )
ผลงานขององค์การสหประชาชาติ
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ทำให้เกิดร่วมมือระหว่างประเทศ ที่ครอบคลุมการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ดังนี้
การรักษาสันติภาพ คณะมนตรีความมั่นคงได้ดำเนินมาตรการบีบบังคับทั้งที่ไม่ใช้กำลังอาวุธและใช้กำลังอาวุธโดยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในสงครามเกาหลี ปี ค.ศ. 1950 และสงครามอ่าวเปอร์เซียในกรณีที่อิรักส่งทหารเข้ายึดครองคูเวต ค.ศ. 1991 นอกจากนั้นสหประชาชาติยังรับหน้าที่เจรจาแก้ไขความขัดแย้ง เช่น การยุติสงครามอิรัก-อิหร่าน การถอนทหารโซเวียตออกจากอัฟกานิสถาน การยุติความขัดแย้งในกัมพูชา
การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติโดยคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนได้สืบสวนเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และได้กระตุ้นให้ประชาคมโลกสนใจในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ จนก่อให้เกิดแรงกดดันระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศนั้น ๆ การปกป้องสิ่งแวดล้อมและชั้นโอโซน สหประชาชาติได้จัดประชุมนานาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ที่ริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ใน ค.ศ. 1992 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อรักษาระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกไม่ให้โลกร้อนขึ้น และลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รับรองแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา เพื่อบรรลุถึงการพัฒนาแบบยั่งยืนและได้จัดประชุมนาชาติชี้ให้เห็นอันตรายจากการสูญเสียชั้นโอโซน ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะที่ผ่านมา การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) ได้ให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเกือบ 3 ล้านชิ้น กฎดังกล่าวยังมีผลให้การคุ้มครองผลงานของศิลปิน นักประพันธ์เพลงนักเขียนทั่วโลก การอนุรักษ์และบูรณะสถานที่สำคัญ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะสถานที่สำคัญ ที่เป็นโบราณสถานทางประวัตศาสตร์ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม ใน 81 ประเทศ เช่น กรีซ อียิปต์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และไทย นอกจากนี้ยังได้จัดประชุมนานาชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
สหภาพยุโรป (European Union: EU)
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ทำให้เกิดร่วมมือระหว่างประเทศ ที่ครอบคลุมการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ดังนี้
การรักษาสันติภาพ คณะมนตรีความมั่นคงได้ดำเนินมาตรการบีบบังคับทั้งที่ไม่ใช้กำลังอาวุธและใช้กำลังอาวุธโดยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในสงครามเกาหลี ปี ค.ศ. 1950 และสงครามอ่าวเปอร์เซียในกรณีที่อิรักส่งทหารเข้ายึดครองคูเวต ค.ศ. 1991 นอกจากนั้นสหประชาชาติยังรับหน้าที่เจรจาแก้ไขความขัดแย้ง เช่น การยุติสงครามอิรัก-อิหร่าน การถอนทหารโซเวียตออกจากอัฟกานิสถาน การยุติความขัดแย้งในกัมพูชา
การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติโดยคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนได้สืบสวนเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และได้กระตุ้นให้ประชาคมโลกสนใจในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ จนก่อให้เกิดแรงกดดันระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศนั้น ๆ การปกป้องสิ่งแวดล้อมและชั้นโอโซน สหประชาชาติได้จัดประชุมนานาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ที่ริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ใน ค.ศ. 1992 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อรักษาระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกไม่ให้โลกร้อนขึ้น และลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รับรองแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา เพื่อบรรลุถึงการพัฒนาแบบยั่งยืนและได้จัดประชุมนาชาติชี้ให้เห็นอันตรายจากการสูญเสียชั้นโอโซน ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะที่ผ่านมา การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) ได้ให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเกือบ 3 ล้านชิ้น กฎดังกล่าวยังมีผลให้การคุ้มครองผลงานของศิลปิน นักประพันธ์เพลงนักเขียนทั่วโลก การอนุรักษ์และบูรณะสถานที่สำคัญ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะสถานที่สำคัญ ที่เป็นโบราณสถานทางประวัตศาสตร์ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม ใน 81 ประเทศ เช่น กรีซ อียิปต์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และไทย นอกจากนี้ยังได้จัดประชุมนานาชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม
สหภาพยุโรป (European Union: EU)
สหภาพยุโรป หรือ อียู
เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะสร้างสันติภาพในทวีปยุโรป
ไม่ให้ประเทศในยุโรปใช้ทรัพยากรใน ประเทศของตนทำสงครามระหว่างกัน ค.ศ. 1951 ประเทศในทวีปยุโรป 6 ประเทศ
ได้แก่ เบลเยี่ยม เยอรมันตะวันตก ลักเซมเบอร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี และเนเธอร์แลนด์
จึงรวมตัวกันก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรป (The European Coal and
Steel Community : ECSC) ขึ้น
ให้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับเหล็กและถ่านหินของประเทศสมาชิก การจัดตั้ง
ECSC ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ประเทศสมาชิกจึงมีความคิดที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น เพื่อสร้างให้เกิดตลาดเดียว
(Common Market) โดยการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ดังนั้น
ค.ศ. 1957 ทั้ง 6 ประเทศจึงลงนามในสนธิสัญญากรุงโรม
(The Treaties of Rome) ก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (The
European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom)
ในเบื้องต้นประชาคมเศรษฐกิจยุโรปมุ่งเน้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า
แต่ต่อมาความร่วมมือนี้ได้ขยายตัวออกไป จนนำไปสู่การรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกัน
และเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ต่อมามีการออกกฎหมายยุโรปตลาดเดียว
(Single European Act) เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่สมบูรณ์ใน
ค.ศ. 1992 ต่อมาประเทศสมาชิกได้ลงนามร่วมกันในสนธิสัญญามาสทริชท์
(The Treaty of Maastricht) ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนในการทำให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป
ต่อมาเพิ่มความร่วมมือทางด้านการทหาร ความยุติธรรมและกิจการภายใน (Justice
and Home Affairs) และในปีค.ศ. 1993 ประชาคมยุโรปจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
สหภาพยุโรป (European Union) โดยมีสมาชิกขณะนั้น 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์
เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย
และยังก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน ยุโรป (Economic and Monetary Union
: EMU) เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศสมาชิกเป็นระบบเดียวกัน
และใช้เงินสกุลเดียวกัน คือ เงินยูโร (EURO)
นับแต่เริ่มก่อตั้งสหภาพยุโรป มีการรับสมาชิกเพิ่มอีกหลายครั้ง ครั้งล่าสุดคือเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2004 โดยรับสมาชิกใหม่อีก 10 ประเทศ ส่งผลให้ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีสมาชิกทั้งหมด 25 ประเทศ นับเป็นการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมา ประเทศสมาชิกใหม่จะต้องยกเลิกกฎหมาย ระเบียบ มาตรการที่ใช้อยู่เดิมและมาใช้กฎหมาย ระเบียบ มาตรการของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกใหม่ 10 ประเทศนี้จะยังไม่ได้รับสิทธิ์ทุกประการเท่ากับประเทศสมาชิกเดิม เช่น ประชาชนของ 10 ประเทศสมาชิกใหม่ไม่สามารถอพยพย้ายถิ่นเข้าไปในประเทศสมาชิกเดิมได้ จนกว่าประเทศเหล่านั้นจะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปมาแล้ว 7 ปีเป็นต้น ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน 2004 ที่ประชุมผู้นำชาติสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศ มีมติรับรองธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์ หลังจากเตรียมการกันมานานราว 4 ปี ซึ่งการผ่านรัฐธรรมนูญดังกล่าวถือเป็นย่างก้าวที่สำคัญอย่างยิ่ง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่อีกครั้งในยุโรป แม้จะยังต้องมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่ชาติสมาชิกต้องตกลงร่วมกัน สหภาพยุโรปมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลศ์ ประเทศเบลเยี่ยม
วัตถุประสงค์ของสหภาพยุโรป
สหภาพยุโรปเป็นการรวมตัวกันของประเทศในทวีปยุโรป เพื่อสร้างเสถียรภาพ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในภูมิภาค แนวคิดการสร้างให้เกิดสันติภาพในยุโรปเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกและสงครามระหว่างประเทศในภูมิภาค ในช่วงแรกเป็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาให้เกิดตลาดเดียว(Single Market) ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยการยกเลิกพรมแดนระหว่างกัน ประชาชน สินค้า บริการ และเงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิก
ประเทศสมาชิกภาพยุโรปได้เริ่มนำเงินยูโรมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1999 โดยเป็นการใช้เงินทางระบบบัญชี ตราสาร และการโอนเงินเท่านั้น ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ของเงินยูโรได้เริ่มนำมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2002 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่เป็นสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป (EMU) และร่วมใช้เงินยูโร 12 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เยอรมัน กรีซ สเปน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส และฟินแลนด์ แต่ยังมี 4 ประเทศ คือ อังกฤษ เดนมาร์ก สวีเดน และกรีซ ที่ยังไม่ยอมรับเงิน สกุลนี้
นับแต่เริ่มก่อตั้งสหภาพยุโรป มีการรับสมาชิกเพิ่มอีกหลายครั้ง ครั้งล่าสุดคือเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2004 โดยรับสมาชิกใหม่อีก 10 ประเทศ ส่งผลให้ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีสมาชิกทั้งหมด 25 ประเทศ นับเป็นการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมา ประเทศสมาชิกใหม่จะต้องยกเลิกกฎหมาย ระเบียบ มาตรการที่ใช้อยู่เดิมและมาใช้กฎหมาย ระเบียบ มาตรการของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกใหม่ 10 ประเทศนี้จะยังไม่ได้รับสิทธิ์ทุกประการเท่ากับประเทศสมาชิกเดิม เช่น ประชาชนของ 10 ประเทศสมาชิกใหม่ไม่สามารถอพยพย้ายถิ่นเข้าไปในประเทศสมาชิกเดิมได้ จนกว่าประเทศเหล่านั้นจะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปมาแล้ว 7 ปีเป็นต้น ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน 2004 ที่ประชุมผู้นำชาติสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศ มีมติรับรองธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์ หลังจากเตรียมการกันมานานราว 4 ปี ซึ่งการผ่านรัฐธรรมนูญดังกล่าวถือเป็นย่างก้าวที่สำคัญอย่างยิ่ง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่อีกครั้งในยุโรป แม้จะยังต้องมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่ชาติสมาชิกต้องตกลงร่วมกัน สหภาพยุโรปมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลศ์ ประเทศเบลเยี่ยม
วัตถุประสงค์ของสหภาพยุโรป
สหภาพยุโรปเป็นการรวมตัวกันของประเทศในทวีปยุโรป เพื่อสร้างเสถียรภาพ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในภูมิภาค แนวคิดการสร้างให้เกิดสันติภาพในยุโรปเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกและสงครามระหว่างประเทศในภูมิภาค ในช่วงแรกเป็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาให้เกิดตลาดเดียว(Single Market) ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยการยกเลิกพรมแดนระหว่างกัน ประชาชน สินค้า บริการ และเงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิก
ประเทศสมาชิกภาพยุโรปได้เริ่มนำเงินยูโรมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1999 โดยเป็นการใช้เงินทางระบบบัญชี ตราสาร และการโอนเงินเท่านั้น ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ของเงินยูโรได้เริ่มนำมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2002 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่เป็นสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป (EMU) และร่วมใช้เงินยูโร 12 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เยอรมัน กรีซ สเปน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส และฟินแลนด์ แต่ยังมี 4 ประเทศ คือ อังกฤษ เดนมาร์ก สวีเดน และกรีซ ที่ยังไม่ยอมรับเงิน สกุลนี้
องค์การระหว่างประเทศ
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN)
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐ มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)
วัตถุประสงค์ของอาเซียน
1) เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง และยึดมั่นในหลักการของสหประชาชาติ
2) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วิชาการ การฝึกอบรม การวิจัย การบริหาร การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันอย่างจริงจัง
ความร่วมมือของอาเซียน
1) ความร่วมมือทางการเมือง สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amit and Cooperation in Southeast Asia : TAC) และประกาศให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality : ZOPFAN) การก่อตั้งการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) และ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty : SEANWFZ )
2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อาเซียนได้ตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA ) เพื่อที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยการลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าส่งออกของกันและกัน และดึงดูดการลงทุนจากภายนอกภูมิภาค และยังมีมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือกัน ในด้านอุตสาหกรรม การเงิน การธนาคาร และการบริการระหว่างกัน ที่สำคัญ ได้แก่ โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation: AICO) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (e-ASEAN) เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน (AFAS) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า ผ่านแดน (GIT) เพื่อที่จะลดช่องว่างทางการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ของอาเซียนด้วย
3) ความร่วมมือเฉพาะด้าน อาเซียนให้ความสำคัญต่อความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional Cooperation) ระหว่างประเทศสมาชิก ได้แก่ ความร่วมมือในด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ การต่อต้านยาเสพติด เช่นการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน การประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติด ในปี ค.ศ. 2015 แผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการอาเซียน เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ และการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทั่วทั้งภูมิภาค เป็นต้น
วิสัยทัศน์ปี 2020 ของอาเซียน
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนในปี 2020 ในส่วนเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้อาเซียนเป็นเขต เศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขัน ในตลาดโลกในทุกๆ ด้าน โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “อาเซียนปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัตร (ASEAN 2020: Partnership in Dynamic Development)”
หลักการใหญ่ของวิสัยทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วไป ได้แก่
:: การดำเนินการลดภาษีภายใต้อาฟต้า
:: การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน
:: การเปิดเสรีการบริการในสาขาต่างๆ
:: การกำหนดให้อาเซียนเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
:: การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านต่างๆ เพื่อให้อาเซียนสามารถแข่งขันกับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ ของโลกได้ เช่น ปรับปรุงด้านการคมนาคมขนส่งให้เชื่อมโยงกัน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประเทศอาเซียน โดยเฉพาะสมาชิกใหม่ ตลอดจนสนับสนุนภาคเอกชนให้สามารถแข่งขันการค้าและการลงทุนกับเอกชนของประเทศในเขตเศรษฐกิจอื่นๆ เป็นต้น
เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)
ประวัติ ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2535 อาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)] เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM: ASEAN Economic Ministers) ครั้งที่ 26 ปี พ.ศ. 2537 ได้มีมติให้ร่นระยะเวลาดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนจาก 15 ปี เหลือ10 ปี และให้นำสินค้าเกษตรไม่แปรรูปเข้ามาลดภาษีรวมทั้งนำสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเคยได้รับการยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาทยอยลดภาษีด้วย
วัตถุประสงค์ของ AFTA
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐ มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)
วัตถุประสงค์ของอาเซียน
1) เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง และยึดมั่นในหลักการของสหประชาชาติ
2) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วิชาการ การฝึกอบรม การวิจัย การบริหาร การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันอย่างจริงจัง
ความร่วมมือของอาเซียน
1) ความร่วมมือทางการเมือง สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amit and Cooperation in Southeast Asia : TAC) และประกาศให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality : ZOPFAN) การก่อตั้งการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) และ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty : SEANWFZ )
2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อาเซียนได้ตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA ) เพื่อที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยการลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าส่งออกของกันและกัน และดึงดูดการลงทุนจากภายนอกภูมิภาค และยังมีมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือกัน ในด้านอุตสาหกรรม การเงิน การธนาคาร และการบริการระหว่างกัน ที่สำคัญ ได้แก่ โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation: AICO) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (e-ASEAN) เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน (AFAS) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า ผ่านแดน (GIT) เพื่อที่จะลดช่องว่างทางการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ของอาเซียนด้วย
3) ความร่วมมือเฉพาะด้าน อาเซียนให้ความสำคัญต่อความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional Cooperation) ระหว่างประเทศสมาชิก ได้แก่ ความร่วมมือในด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ การต่อต้านยาเสพติด เช่นการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน การประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติด ในปี ค.ศ. 2015 แผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการอาเซียน เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ และการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทั่วทั้งภูมิภาค เป็นต้น
วิสัยทัศน์ปี 2020 ของอาเซียน
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนในปี 2020 ในส่วนเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้อาเซียนเป็นเขต เศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขัน ในตลาดโลกในทุกๆ ด้าน โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “อาเซียนปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัตร (ASEAN 2020: Partnership in Dynamic Development)”
หลักการใหญ่ของวิสัยทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วไป ได้แก่
:: การดำเนินการลดภาษีภายใต้อาฟต้า
:: การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน
:: การเปิดเสรีการบริการในสาขาต่างๆ
:: การกำหนดให้อาเซียนเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
:: การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านต่างๆ เพื่อให้อาเซียนสามารถแข่งขันกับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ ของโลกได้ เช่น ปรับปรุงด้านการคมนาคมขนส่งให้เชื่อมโยงกัน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประเทศอาเซียน โดยเฉพาะสมาชิกใหม่ ตลอดจนสนับสนุนภาคเอกชนให้สามารถแข่งขันการค้าและการลงทุนกับเอกชนของประเทศในเขตเศรษฐกิจอื่นๆ เป็นต้น
เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)
ประวัติ ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2535 อาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)] เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM: ASEAN Economic Ministers) ครั้งที่ 26 ปี พ.ศ. 2537 ได้มีมติให้ร่นระยะเวลาดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนจาก 15 ปี เหลือ10 ปี และให้นำสินค้าเกษตรไม่แปรรูปเข้ามาลดภาษีรวมทั้งนำสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเคยได้รับการยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาทยอยลดภาษีด้วย
วัตถุประสงค์ของ AFTA
เพื่อการขยายตัวทางการค้า การขยายตลาดทางการค้าและการลงทุน
เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก
องค์การการค้าโลก (Word
Trade Organization :WTO)
องค์การการค้าโลก หรือ WTO มีพัฒนาการมาจากแกตต์ (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1995 โดยมีองค์กรสูงสุดในการตัดสินใจ คือ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุกๆ 2 ปี การประชุมครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 9 -13 ธันวาคม 1996 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 148 ประเทศ (ณ เดือนเมษายน 2548) โดยไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 และมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง นอกจากนี้ยังมีประเทศซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก เช่น รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย เวียดนาม และลาว เป็นต้น
องค์การการค้าโลก (อังกฤษ: World Trade Organization, WTO) เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติ (UN) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่าง ประเทศสมาชิก
องค์การการค้าโลก หรือ WTO มีพัฒนาการมาจากแกตต์ (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1995 โดยมีองค์กรสูงสุดในการตัดสินใจ คือ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุกๆ 2 ปี การประชุมครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 9 -13 ธันวาคม 1996 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 148 ประเทศ (ณ เดือนเมษายน 2548) โดยไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 และมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง นอกจากนี้ยังมีประเทศซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก เช่น รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย เวียดนาม และลาว เป็นต้น
องค์การการค้าโลก (อังกฤษ: World Trade Organization, WTO) เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติ (UN) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่าง ประเทศสมาชิก
องค์การการค้าโลกจัดตั้งขึ้นแทนความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร
เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 159 ประเทศ[2]
ประเทศล่าสุดที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคือประเทศลาว
ซึ่งได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556
องค์การการค้าโลกมีงบประมาณปี พ.ศ. 2554 ทั้งสิ้น 196 ล้านฟรังก์สวิส (ราว 6,000 ล้านบาท) มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสำนักเลขาธิการ 640 คน เลขาธิการคนปัจจุบันชื่อนายปาสกัล ลามี สืบต่อจากนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ที่ดำรงตำแหน่งต่อจาก นายไมค์ มัวร์ อีกที
องค์การการค้าโลกมีงบประมาณปี พ.ศ. 2554 ทั้งสิ้น 196 ล้านฟรังก์สวิส (ราว 6,000 ล้านบาท) มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสำนักเลขาธิการ 640 คน เลขาธิการคนปัจจุบันชื่อนายปาสกัล ลามี สืบต่อจากนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ที่ดำรงตำแหน่งต่อจาก นายไมค์ มัวร์ อีกที
องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General
Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้,
ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on
Trade in Services; GATS) และ
ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on
Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS
วัตถุประสงค์ของ
WTO
1. เป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าและจัดทำกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน
2. เป็นเวทีในการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
3. เป็นกลไกตรวจสอบและทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก
1. เป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าและจัดทำกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน
2. เป็นเวทีในการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
3. เป็นกลไกตรวจสอบและทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก
องค์การของประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC)
การรวมกลุ่มกันเพื่อแสวงหา และรักษาผลประโยชน์ เป็นของธรรมดาไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หรือในระดับประเทศ ผู้ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ๆ ในกลุ่มของประเทศด้อยพัฒนา มองเห็นความสำคัญของข้อนี้ จึงเริ่มรวมตัวกันตั้งองค์การถาวรขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 และใช้ชื่อว่า Organization of Petroleum Exporting Countries (OPEC) โดยมีสมาชิกก่อตั้ง คือ เวเนซุเอลา อิหร่าน อิรัก คูเวต และซาอุดิอาระเบีย และประเทศอื่นเข้าร่วมในเวลาต่อมา ได้แก่ กาตาร์ (2504) อินโดนีเซีย และลิเบีย (2505) สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ (2510) แอลจีเรีย (2512) ไนจีเรีย (2514) เอกวาดอร์ (2516) และกาบอง (2518) เอกวาดอร์ลาออกในปี พ.ศ. 2535 ตามด้วยกาบอง ในปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันองค์การนี้จึงมีสมาชิก 11 ประเทศ
ประเทศในกลุ่มโอเปคมีบทบาทสำคัญต่อการกินดีอยู่ดีของชาวโลก เพราะมีน้ำมันดิบรวมกันถึง 75% ของน้ำมันดิบที่ค้นพบแล้วในโลก และสูบขึ้นมาเป็นจำนวน 40% ของน้ำมันที่ผลิตทั่วโลก หน้าที่ใหญ่ของโอเปคในการรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก ได้แก่ การประสานนโยบายในการผลิต และการตั้งราคาน้ำมันดิบ และการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางเทคนิคแก่กันและกัน ตามปกติสมาชิกจะร่วมประชุมกันปีละสองครั้ง ตอนก่อตั้งใหม่ๆ งานใหญ่ขององค์การนี้ ได้แก่ การต่อรองกับบริษัทผลิตน้ำมันข้ามชาติใหญ่ ๆ ซึ่งมีอยู่ 7 บริษัท คือ Exxon, Mobil, Texacon, ARCO, Standard Oil of Indiana, British Petroleum และ Royal Dutch Shell เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก ต่อมาเมื่อประเทศสมาชิกโอเปคยึดบ่อน้ำมันและยึดสาขาบริษัท ซึ่งผลิตน้ำมันในประเทศของตนมาเป็นของรัฐ องค์การนี้มีบทบาทในการตั้งราคาน้ำมันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเวลา 10 ปีกว่าหลังจากก่อตั้งองค์การ น้ำมันดิบในตลาดโลกมีอย่างมากมาย องค์การนี้จึงไม่สามารถขึ้นราคาน้ำมันดิบได้ จนมาในปลายปี พ.ศ. 2516 เมื่อน้ำมันเริ่มขาดตลาด ประเทศเหล่านี้จึงขึ้นราคาน้ำมันดิบ 70% ในเดือนตุลาคม หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เช่น ซาอุดิอาระเบีย ประกาศ งดขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ตามข้อกล่าวหาว่าสองประเทศนั้นสนับสนุนอิสราเอลในสงครามกับฝ่ายอาหรับในปีนั้น ทำให้เกิดภาะน้ำมันขาดตลาดอย่างร้ายแรง สมาชิกขององค์การนี้จึงขึ้นราคาน้ำมันดิบอีก 130% ในเดือนธันวาคม ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับใหม่มาจนถึงปี พ.ศ. 2522 เมื่อการปฏิวัติล้มบัลลังก์พระเจ้าซาห์ของอิหร่าน และในปีต่อมา เมื่ออิรักโจมตีอิหร่าน ก่อให้เกิดภาวะน้ำมันขาดแคลนครั้งใหญ่อีกหน ผู้ผลิตน้ำมันจึงสามารถขึ้นราคาน้ำมันได้อีกราวสามเท่าตัว
การขึ้นราคาน้ำมันครั้งละมากๆ เช่นนี้ สร้างความร่ำรวยให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างมหาศาล และในขณะเดียวกัน มันก็สร้างความเดือดร้อนไปทั่วทุกระแหงในโลก น้ำมันราคาแพงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายอย่างในประเทศที่ต้องซื้อน้ำมันใช้ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบแก่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเองในที่สุด ผลกระทบอาจแยกคร่าว ๆ ได้ดังนี้
1. น้ำมันราคาแพง ทำให้เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก เศรษฐกิจถดถอยทำให้ความต้องการน้ำมันน้อยลง
2. น้ำมันราคาแพง ทำให้ผู้บริโภคประหยัด ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง
3. น้ำมันราคาแพง ทำให้ผู้บริโภคพยายามใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่นแทน เช่น ถ่านหิน และพลังนิวเคลียร์ ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง
4. น้ำมันราคาแพงในกลุ่มประเทศโอเปค ทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้อจากแหล่งที่ถูกกว่า เช่น เม็กซิโก และรัสเซีย กระตุ้นให้ประเทศเหล่านั้นเร่งลงทุนผลิตน้ำมันมากขึ้น
5. น้ำมันราคาแพง ทำให้บริษัทผู้ผลิตน้ำมันเร่งหาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ทำให้น้ำมันในตลาดโลกมีมากขึ้น
6. น้ำมันราคาแพง ทำให้บ่อน้ำมันบางแห่ง ที่ต้องปิดไปเพราะมีต้นทุนการผลิตสูง กลับมาผลิตน้ำมันอีก เป็นการเพิ่มน้ำมันในตลาดโลก
ภาวะเช่นนี้ ก่อให้เกิดน้ำมันล้นตลาด สร้างความกดดันให้ผู้ผลิตต้องลดราคา เพื่อแข่งกันขาย ฉะนั้นหลังจากน้ำมันดิบขึ้นราคาไม่นาน เมื่อเกิดการปฏิวัติในอิหร่านและเกิดสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็เริ่มตก ในภาวะเช่นนี้ กลุ่มประเทศโอเปคไม่สามารถจะคุมราคาได้ ในทางตรงกันข้ามสมาชิกเริ่มทะเลาะกันเองหลังจากสมาชิกตกลงลดการผลิตของตนเพื่อจะพยุงราคาให้สูงไว้ แต่สมาชิกบางประเทศมีค่าใช้จ่ายมาก จึงลักลอบผลิตน้ำมันเกินพิกัดที่ได้รับจากองค์การ เมื่อหลายประเทศทำเช่นนั้น น้ำมันดิบในตลาดโลกจึงไม่ลดลงเท่าที่โอเปคต้องการ ทำให้ราคาตกลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การผลิตน้ำมันเกินพิกัดของคูเวต เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถูกอิรักโจมตีในปี พ.ศ. 2533 เพราะอิรักอ้างว่าคูเวตต้องการให้ราคาน้ำมันตก เพื่อเป็นบ่อนทำลายอิรัก ซึ่งต้องการเงินเป็นจำนวนมากเพื่อรื้อฟื้นเศรษฐกิจของตนหลังจากสงคราม 8 ปีกับอิหร่าน ซึ่งยุติลงในปี พ.ศ. 2531
นอกจากจะหักหลังกันเองแล้ว ความขัดแย้งในกลุ่มประเทศโอเปค ยังเกิดจากความพยายามใช้น้ำมันเป็นอาวุธทางการเมือง ของประเทศผู้ผลิตในกลุ่มอาหรับอีกด้วย การใช้น้ำมันเป็นอาวุธทางการเมืองครั้งสำคัญ ได้แก่ เมื่อผู้ผลิตในกลุ่มอาหรับนำโดยซาอุดิอาระเบียงดขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2516-2517 เพื่อจะทำโทษสองประเทศนั้น ที่ช่วยเหลืออิสราเอลในระหว่างสงครามตะวันออกกลาง ในปี พ.ศ. 2516 ฉะนั้นประเทศอาหรับจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อยขึ้นมาอีก เรียกว่า องค์การของประเทศอาหรับผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Arab Petroleum Exporting Countries : OAPEC)
การรวมกลุ่มกันเพื่อแสวงหา และรักษาผลประโยชน์ เป็นของธรรมดาไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หรือในระดับประเทศ ผู้ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ๆ ในกลุ่มของประเทศด้อยพัฒนา มองเห็นความสำคัญของข้อนี้ จึงเริ่มรวมตัวกันตั้งองค์การถาวรขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 และใช้ชื่อว่า Organization of Petroleum Exporting Countries (OPEC) โดยมีสมาชิกก่อตั้ง คือ เวเนซุเอลา อิหร่าน อิรัก คูเวต และซาอุดิอาระเบีย และประเทศอื่นเข้าร่วมในเวลาต่อมา ได้แก่ กาตาร์ (2504) อินโดนีเซีย และลิเบีย (2505) สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ (2510) แอลจีเรีย (2512) ไนจีเรีย (2514) เอกวาดอร์ (2516) และกาบอง (2518) เอกวาดอร์ลาออกในปี พ.ศ. 2535 ตามด้วยกาบอง ในปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันองค์การนี้จึงมีสมาชิก 11 ประเทศ
ประเทศในกลุ่มโอเปคมีบทบาทสำคัญต่อการกินดีอยู่ดีของชาวโลก เพราะมีน้ำมันดิบรวมกันถึง 75% ของน้ำมันดิบที่ค้นพบแล้วในโลก และสูบขึ้นมาเป็นจำนวน 40% ของน้ำมันที่ผลิตทั่วโลก หน้าที่ใหญ่ของโอเปคในการรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก ได้แก่ การประสานนโยบายในการผลิต และการตั้งราคาน้ำมันดิบ และการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางเทคนิคแก่กันและกัน ตามปกติสมาชิกจะร่วมประชุมกันปีละสองครั้ง ตอนก่อตั้งใหม่ๆ งานใหญ่ขององค์การนี้ ได้แก่ การต่อรองกับบริษัทผลิตน้ำมันข้ามชาติใหญ่ ๆ ซึ่งมีอยู่ 7 บริษัท คือ Exxon, Mobil, Texacon, ARCO, Standard Oil of Indiana, British Petroleum และ Royal Dutch Shell เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก ต่อมาเมื่อประเทศสมาชิกโอเปคยึดบ่อน้ำมันและยึดสาขาบริษัท ซึ่งผลิตน้ำมันในประเทศของตนมาเป็นของรัฐ องค์การนี้มีบทบาทในการตั้งราคาน้ำมันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเวลา 10 ปีกว่าหลังจากก่อตั้งองค์การ น้ำมันดิบในตลาดโลกมีอย่างมากมาย องค์การนี้จึงไม่สามารถขึ้นราคาน้ำมันดิบได้ จนมาในปลายปี พ.ศ. 2516 เมื่อน้ำมันเริ่มขาดตลาด ประเทศเหล่านี้จึงขึ้นราคาน้ำมันดิบ 70% ในเดือนตุลาคม หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เช่น ซาอุดิอาระเบีย ประกาศ งดขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ตามข้อกล่าวหาว่าสองประเทศนั้นสนับสนุนอิสราเอลในสงครามกับฝ่ายอาหรับในปีนั้น ทำให้เกิดภาะน้ำมันขาดตลาดอย่างร้ายแรง สมาชิกขององค์การนี้จึงขึ้นราคาน้ำมันดิบอีก 130% ในเดือนธันวาคม ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับใหม่มาจนถึงปี พ.ศ. 2522 เมื่อการปฏิวัติล้มบัลลังก์พระเจ้าซาห์ของอิหร่าน และในปีต่อมา เมื่ออิรักโจมตีอิหร่าน ก่อให้เกิดภาวะน้ำมันขาดแคลนครั้งใหญ่อีกหน ผู้ผลิตน้ำมันจึงสามารถขึ้นราคาน้ำมันได้อีกราวสามเท่าตัว
การขึ้นราคาน้ำมันครั้งละมากๆ เช่นนี้ สร้างความร่ำรวยให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างมหาศาล และในขณะเดียวกัน มันก็สร้างความเดือดร้อนไปทั่วทุกระแหงในโลก น้ำมันราคาแพงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายอย่างในประเทศที่ต้องซื้อน้ำมันใช้ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบแก่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเองในที่สุด ผลกระทบอาจแยกคร่าว ๆ ได้ดังนี้
1. น้ำมันราคาแพง ทำให้เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก เศรษฐกิจถดถอยทำให้ความต้องการน้ำมันน้อยลง
2. น้ำมันราคาแพง ทำให้ผู้บริโภคประหยัด ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง
3. น้ำมันราคาแพง ทำให้ผู้บริโภคพยายามใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่นแทน เช่น ถ่านหิน และพลังนิวเคลียร์ ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง
4. น้ำมันราคาแพงในกลุ่มประเทศโอเปค ทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้อจากแหล่งที่ถูกกว่า เช่น เม็กซิโก และรัสเซีย กระตุ้นให้ประเทศเหล่านั้นเร่งลงทุนผลิตน้ำมันมากขึ้น
5. น้ำมันราคาแพง ทำให้บริษัทผู้ผลิตน้ำมันเร่งหาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ทำให้น้ำมันในตลาดโลกมีมากขึ้น
6. น้ำมันราคาแพง ทำให้บ่อน้ำมันบางแห่ง ที่ต้องปิดไปเพราะมีต้นทุนการผลิตสูง กลับมาผลิตน้ำมันอีก เป็นการเพิ่มน้ำมันในตลาดโลก
ภาวะเช่นนี้ ก่อให้เกิดน้ำมันล้นตลาด สร้างความกดดันให้ผู้ผลิตต้องลดราคา เพื่อแข่งกันขาย ฉะนั้นหลังจากน้ำมันดิบขึ้นราคาไม่นาน เมื่อเกิดการปฏิวัติในอิหร่านและเกิดสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็เริ่มตก ในภาวะเช่นนี้ กลุ่มประเทศโอเปคไม่สามารถจะคุมราคาได้ ในทางตรงกันข้ามสมาชิกเริ่มทะเลาะกันเองหลังจากสมาชิกตกลงลดการผลิตของตนเพื่อจะพยุงราคาให้สูงไว้ แต่สมาชิกบางประเทศมีค่าใช้จ่ายมาก จึงลักลอบผลิตน้ำมันเกินพิกัดที่ได้รับจากองค์การ เมื่อหลายประเทศทำเช่นนั้น น้ำมันดิบในตลาดโลกจึงไม่ลดลงเท่าที่โอเปคต้องการ ทำให้ราคาตกลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การผลิตน้ำมันเกินพิกัดของคูเวต เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถูกอิรักโจมตีในปี พ.ศ. 2533 เพราะอิรักอ้างว่าคูเวตต้องการให้ราคาน้ำมันตก เพื่อเป็นบ่อนทำลายอิรัก ซึ่งต้องการเงินเป็นจำนวนมากเพื่อรื้อฟื้นเศรษฐกิจของตนหลังจากสงคราม 8 ปีกับอิหร่าน ซึ่งยุติลงในปี พ.ศ. 2531
นอกจากจะหักหลังกันเองแล้ว ความขัดแย้งในกลุ่มประเทศโอเปค ยังเกิดจากความพยายามใช้น้ำมันเป็นอาวุธทางการเมือง ของประเทศผู้ผลิตในกลุ่มอาหรับอีกด้วย การใช้น้ำมันเป็นอาวุธทางการเมืองครั้งสำคัญ ได้แก่ เมื่อผู้ผลิตในกลุ่มอาหรับนำโดยซาอุดิอาระเบียงดขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2516-2517 เพื่อจะทำโทษสองประเทศนั้น ที่ช่วยเหลืออิสราเอลในระหว่างสงครามตะวันออกกลาง ในปี พ.ศ. 2516 ฉะนั้นประเทศอาหรับจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อยขึ้นมาอีก เรียกว่า องค์การของประเทศอาหรับผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Arab Petroleum Exporting Countries : OAPEC)
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก
(Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC)
เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นจากการประชุมรัฐมนตรีของประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและทางการค้าของภูมิภาคของโลก
2. พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีและสนับสนุนผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยประสบผลสำเร็จ
3. ศึกษาลู่ทางในการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาค ในลักษณะที่มิใช่การรวมกลุ่มทางการค้าที่กีดกันประเทศนอกกลุ่ม (Open Regionalism)
4. ขยายความร่วมมือสาขาเศรษฐกิจที่สนใจร่วมกัน
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการไหลเวียนสินค้า บริการ ทุน และเทคโนโลยีระหว่างกันโดยเสรี สอดคล้องกับกฎของแกตต์ (ในสมัยนั้น)
หลักการของความร่วมมือ
1. เป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือ (Consultative Forum) ที่เกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจ
2. ยึดหลักฉันทามติ (Consensus) ในการดำเนินการใดๆ โดยยอมรับความเสมอภาคของประเทศสมาชิก
3.ยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกันโดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระบบสังคมและการเมืองของประเทศสมาชิก
เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นจากการประชุมรัฐมนตรีของประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและทางการค้าของภูมิภาคของโลก
2. พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีและสนับสนุนผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยประสบผลสำเร็จ
3. ศึกษาลู่ทางในการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาค ในลักษณะที่มิใช่การรวมกลุ่มทางการค้าที่กีดกันประเทศนอกกลุ่ม (Open Regionalism)
4. ขยายความร่วมมือสาขาเศรษฐกิจที่สนใจร่วมกัน
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการไหลเวียนสินค้า บริการ ทุน และเทคโนโลยีระหว่างกันโดยเสรี สอดคล้องกับกฎของแกตต์ (ในสมัยนั้น)
หลักการของความร่วมมือ
1. เป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือ (Consultative Forum) ที่เกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจ
2. ยึดหลักฉันทามติ (Consensus) ในการดำเนินการใดๆ โดยยอมรับความเสมอภาคของประเทศสมาชิก
3.ยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกันโดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระบบสังคมและการเมืองของประเทศสมาชิก
จากที่กล่าวมาข้างต้น
องค์กร และความร่วมมือ ระหว่างประเทศ ทั้งในระดับ โลก และระดับภูมิภาค
ล้วนส่งผลต่อกลไก กระบวนการในการเคลื่อนไหว ให้ระบบโลก สามารถ เคลื่อนไหว ไปได้
ภายใต้กรอบการพัฒนาภายใต้โลกาภิวัตน์ องค์กรหรือความร่วมมือระหว่างประเทศ เหล่านี้
เป็นเสมือน กาว ที่เชื่อมต่อ ประสาน ผลประโยชน์ ของชาติสมาชิก ต่างๆ เข้าด้วยกัน
ภายใต้ ความวุ่นวาย ที่ผลประโยชน์ ของแต่ละชาติ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ
ในเวทีการเมืองระดับโลก
องค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN)
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐ มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)
วัตถุประสงค์ของอาเซียน
1) เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง และยึดมั่นในหลักการของสหประชาชาติ
2) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วิชาการ การฝึกอบรม การวิจัย การบริหาร การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันอย่างจริงจัง
ความร่วมมือของอาเซียน
1) ความร่วมมือทางการเมือง สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amit and Cooperation in Southeast Asia : TAC) และประกาศให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality : ZOPFAN) การก่อตั้งการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) และ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty : SEANWFZ )
2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อาเซียนได้ตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA ) เพื่อที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยการลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าส่งออกของกันและกัน และดึงดูดการลงทุนจากภายนอกภูมิภาค และยังมีมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือกัน ในด้านอุตสาหกรรม การเงิน การธนาคาร และการบริการระหว่างกัน ที่สำคัญ ได้แก่ โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation: AICO) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (e-ASEAN) เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน (AFAS) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า ผ่านแดน (GIT) เพื่อที่จะลดช่องว่างทางการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ของอาเซียนด้วย
3) ความร่วมมือเฉพาะด้าน อาเซียนให้ความสำคัญต่อความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional Cooperation) ระหว่างประเทศสมาชิก ได้แก่ ความร่วมมือในด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ การต่อต้านยาเสพติด เช่นการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน การประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติด ในปี ค.ศ. 2015 แผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการอาเซียน เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ และการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทั่วทั้งภูมิภาค เป็นต้น
วิสัยทัศน์ปี 2020 ของอาเซียน
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนในปี 2020 ในส่วนเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้อาเซียนเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขัน ในตลาดโลกในทุกๆ ด้าน โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “อาเซียนปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัตร (ASEAN 2020: Partnership in Dynamic Development)”
หลักการใหญ่ของวิสัยทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วไป ได้แก่
:: การดำเนินการลดภาษีภายใต้อาฟต้า
:: การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน
:: การเปิดเสรีการบริการในสาขาต่างๆ
:: การกำหนดให้อาเซียนเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
:: การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านต่างๆ เพื่อให้อาเซียนสามารถแข่งขันกับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ ของโลกได้ เช่น ปรับปรุงด้านการคมนาคมขนส่งให้เชื่อมโยงกัน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประเทศอาเซียน โดยเฉพาะสมาชิกใหม่ ตลอดจนสนับสนุนภาคเอกชนให้สามารถแข่งขันการค้าและการลงทุนกับเอกชนของประเทศในเขตเศรษฐกิจอื่นๆ เป็นต้น
เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)
ประวัติ ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2535 อาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)] เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM: ASEAN Economic Ministers) ครั้งที่ 26 ปี พ.ศ. 2537 ได้มีมติให้ร่นระยะเวลาดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนจาก 15 ปี เหลือ10 ปี และให้นำสินค้าเกษตรไม่แปรรูปเข้ามาลดภาษีรวมทั้งนำสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเคยได้รับการยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาทยอยลดภาษีด้วย
วัตถุประสงค์ของ AFTA
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐ มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)
วัตถุประสงค์ของอาเซียน
1) เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง และยึดมั่นในหลักการของสหประชาชาติ
2) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วิชาการ การฝึกอบรม การวิจัย การบริหาร การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันอย่างจริงจัง
ความร่วมมือของอาเซียน
1) ความร่วมมือทางการเมือง สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amit and Cooperation in Southeast Asia : TAC) และประกาศให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality : ZOPFAN) การก่อตั้งการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) และ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty : SEANWFZ )
2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อาเซียนได้ตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA ) เพื่อที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยการลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าส่งออกของกันและกัน และดึงดูดการลงทุนจากภายนอกภูมิภาค และยังมีมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือกัน ในด้านอุตสาหกรรม การเงิน การธนาคาร และการบริการระหว่างกัน ที่สำคัญ ได้แก่ โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation: AICO) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (e-ASEAN) เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน (AFAS) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า ผ่านแดน (GIT) เพื่อที่จะลดช่องว่างทางการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ของอาเซียนด้วย
3) ความร่วมมือเฉพาะด้าน อาเซียนให้ความสำคัญต่อความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional Cooperation) ระหว่างประเทศสมาชิก ได้แก่ ความร่วมมือในด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ การต่อต้านยาเสพติด เช่นการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน การประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติด ในปี ค.ศ. 2015 แผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการอาเซียน เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ และการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทั่วทั้งภูมิภาค เป็นต้น
วิสัยทัศน์ปี 2020 ของอาเซียน
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนในปี 2020 ในส่วนเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้อาเซียนเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขัน ในตลาดโลกในทุกๆ ด้าน โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “อาเซียนปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัตร (ASEAN 2020: Partnership in Dynamic Development)”
หลักการใหญ่ของวิสัยทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วไป ได้แก่
:: การดำเนินการลดภาษีภายใต้อาฟต้า
:: การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน
:: การเปิดเสรีการบริการในสาขาต่างๆ
:: การกำหนดให้อาเซียนเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
:: การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านต่างๆ เพื่อให้อาเซียนสามารถแข่งขันกับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ ของโลกได้ เช่น ปรับปรุงด้านการคมนาคมขนส่งให้เชื่อมโยงกัน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประเทศอาเซียน โดยเฉพาะสมาชิกใหม่ ตลอดจนสนับสนุนภาคเอกชนให้สามารถแข่งขันการค้าและการลงทุนกับเอกชนของประเทศในเขตเศรษฐกิจอื่นๆ เป็นต้น
เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)
ประวัติ ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2535 อาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)] เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM: ASEAN Economic Ministers) ครั้งที่ 26 ปี พ.ศ. 2537 ได้มีมติให้ร่นระยะเวลาดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนจาก 15 ปี เหลือ10 ปี และให้นำสินค้าเกษตรไม่แปรรูปเข้ามาลดภาษีรวมทั้งนำสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเคยได้รับการยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาทยอยลดภาษีด้วย
วัตถุประสงค์ของ AFTA
เพื่อการขยายตัวทางการค้า
การขยายตลาดทางการค้าและการลงทุน
เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก
องค์การการค้าโลก
(Word Trade Organization :WTO)
องค์การการค้าโลก หรือ WTO มีพัฒนาการมาจากแกตต์ (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1995 โดยมีองค์กรสูงสุดในการตัดสินใจ คือ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุกๆ 2 ปี การประชุมครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 9 -13 ธันวาคม 1996 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 148 ประเทศ (ณ เดือนเมษายน 2548) โดยไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 และมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง นอกจากนี้ยังมีประเทศซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก เช่น รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย เวียดนาม และลาว เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของ WTO
1. เป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าและจัดทำกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน
2. เป็นเวทีในการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
3. เป็นกลไกตรวจสอบและทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก
องค์การการค้าโลก หรือ WTO มีพัฒนาการมาจากแกตต์ (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1995 โดยมีองค์กรสูงสุดในการตัดสินใจ คือ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุกๆ 2 ปี การประชุมครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 9 -13 ธันวาคม 1996 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 148 ประเทศ (ณ เดือนเมษายน 2548) โดยไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 และมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง นอกจากนี้ยังมีประเทศซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก เช่น รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย เวียดนาม และลาว เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของ WTO
1. เป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าและจัดทำกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน
2. เป็นเวทีในการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
3. เป็นกลไกตรวจสอบและทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก
องค์การของประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
(Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC)
การรวมกลุ่มกันเพื่อแสวงหา และรักษาผลประโยชน์ เป็นของธรรมดาไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หรือในระดับประเทศ ผู้ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ๆ ในกลุ่มของประเทศด้อยพัฒนา มองเห็นความสำคัญของข้อนี้ จึงเริ่มรวมตัวกันตั้งองค์การถาวรขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 และใช้ชื่อว่า Organization of Petroleum Exporting Countries (OPEC) โดยมีสมาชิกก่อตั้ง คือ เวเนซุเอลา อิหร่าน อิรัก คูเวต และซาอุดิอาระเบีย และประเทศอื่นเข้าร่วมในเวลาต่อมา ได้แก่ กาตาร์ (2504) อินโดนีเซีย และลิเบีย (2505) สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ (2510) แอลจีเรีย (2512) ไนจีเรีย (2514) เอกวาดอร์ (2516) และกาบอง (2518) เอกวาดอร์ลาออกในปี พ.ศ. 2535 ตามด้วยกาบอง ในปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันองค์การนี้จึงมีสมาชิก 11 ประเทศ
ประเทศในกลุ่มโอเปคมีบทบาทสำคัญต่อการกินดีอยู่ดีของชาวโลก เพราะมีน้ำมันดิบรวมกันถึง 75% ของน้ำมันดิบที่ค้นพบแล้วในโลก และสูบขึ้นมาเป็นจำนวน 40% ของน้ำมันที่ผลิตทั่วโลก หน้าที่ใหญ่ของโอเปคในการรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก ได้แก่ การประสานนโยบายในการผลิต และการตั้งราคาน้ำมันดิบ และการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางเทคนิคแก่กันและกัน ตามปกติสมาชิกจะร่วมประชุมกันปีละสองครั้ง ตอนก่อตั้งใหม่ๆ งานใหญ่ขององค์การนี้ ได้แก่ การต่อรองกับบริษัทผลิตน้ำมันข้ามชาติใหญ่ ๆ ซึ่งมีอยู่ 7 บริษัท คือ Exxon, Mobil, Texacon, ARCO, Standard Oil of Indiana, British Petroleum และ Royal Dutch Shell เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก ต่อมาเมื่อประเทศสมาชิกโอเปคยึดบ่อน้ำมันและยึดสาขาบริษัท ซึ่งผลิตน้ำมันในประเทศของตนมาเป็นของรัฐ องค์การนี้มีบทบาทในการตั้งราคาน้ำมันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเวลา 10 ปีกว่าหลังจากก่อตั้งองค์การ น้ำมันดิบในตลาดโลกมีอย่างมากมาย องค์การนี้จึงไม่สามารถขึ้นราคาน้ำมันดิบได้ จนมาในปลายปี พ.ศ. 2516 เมื่อน้ำมันเริ่มขาดตลาด ประเทศเหล่านี้จึงขึ้นราคาน้ำมันดิบ 70% ในเดือนตุลาคม หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เช่น ซาอุดิอาระเบีย ประกาศ งดขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ตามข้อกล่าวหาว่าสองประเทศนั้นสนับสนุนอิสราเอลในสงครามกับฝ่ายอาหรับในปีนั้น ทำให้เกิดภาะน้ำมันขาดตลาดอย่างร้ายแรง สมาชิกขององค์การนี้จึงขึ้นราคาน้ำมันดิบอีก 130% ในเดือนธันวาคม ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับใหม่มาจนถึงปี พ.ศ. 2522 เมื่อการปฏิวัติล้มบัลลังก์พระเจ้าซาห์ของอิหร่าน และในปีต่อมา เมื่ออิรักโจมตีอิหร่าน ก่อให้เกิดภาวะน้ำมันขาดแคลนครั้งใหญ่อีกหน ผู้ผลิตน้ำมันจึงสามารถขึ้นราคาน้ำมันได้อีกราวสามเท่าตัว
การขึ้นราคาน้ำมันครั้งละมากๆ เช่นนี้ สร้างความร่ำรวยให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างมหาศาล และในขณะเดียวกัน มันก็สร้างความเดือดร้อนไปทั่วทุกระแหงในโลก น้ำมันราคาแพงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายอย่างในประเทศที่ต้องซื้อน้ำมันใช้ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบแก่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเองในที่สุด ผลกระทบอาจแยกคร่าว ๆ ได้ดังนี้
1. น้ำมันราคาแพง ทำให้เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก เศรษฐกิจถดถอยทำให้ความต้องการน้ำมันน้อยลง
2. น้ำมันราคาแพง ทำให้ผู้บริโภคประหยัด ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง
3. น้ำมันราคาแพง ทำให้ผู้บริโภคพยายามใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่นแทน เช่น ถ่านหิน และพลังนิวเคลียร์ ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง
4. น้ำมันราคาแพงในกลุ่มประเทศโอเปค ทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้อจากแหล่งที่ถูกกว่า เช่น เม็กซิโก และรัสเซีย กระตุ้นให้ประเทศเหล่านั้นเร่งลงทุนผลิตน้ำมันมากขึ้น
5. น้ำมันราคาแพง ทำให้บริษัทผู้ผลิตน้ำมันเร่งหาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ทำให้น้ำมันในตลาดโลกมีมากขึ้น
6. น้ำมันราคาแพง ทำให้บ่อน้ำมันบางแห่ง ที่ต้องปิดไปเพราะมีต้นทุนการผลิตสูง กลับมาผลิตน้ำมันอีก เป็นการเพิ่มน้ำมันในตลาดโลก
ภาวะเช่นนี้ ก่อให้เกิดน้ำมันล้นตลาด สร้างความกดดันให้ผู้ผลิตต้องลดราคา เพื่อแข่งกันขาย ฉะนั้นหลังจากน้ำมันดิบขึ้นราคาไม่นาน เมื่อเกิดการปฏิวัติในอิหร่านและเกิดสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็เริ่มตก ในภาวะเช่นนี้ กลุ่มประเทศโอเปคไม่สามารถจะคุมราคาได้ ในทางตรงกันข้ามสมาชิกเริ่มทะเลาะกันเองหลังจากสมาชิกตกลงลดการผลิตของตนเพื่อจะพยุงราคาให้สูงไว้ แต่สมาชิกบางประเทศมีค่าใช้จ่ายมาก จึงลักลอบผลิตน้ำมันเกินพิกัดที่ได้รับจากองค์การ เมื่อหลายประเทศทำเช่นนั้น น้ำมันดิบในตลาดโลกจึงไม่ลดลงเท่าที่โอเปคต้องการ ทำให้ราคาตกลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การผลิตน้ำมันเกินพิกัดของคูเวต เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถูกอิรักโจมตีในปี พ.ศ. 2533 เพราะอิรักอ้างว่าคูเวตต้องการให้ราคาน้ำมันตก เพื่อเป็นบ่อนทำลายอิรัก ซึ่งต้องการเงินเป็นจำนวนมากเพื่อรื้อฟื้นเศรษฐกิจของตนหลังจากสงคราม 8 ปีกับอิหร่าน ซึ่งยุติลงในปี พ.ศ. 2531
นอกจากจะหักหลังกันเองแล้ว ความขัดแย้งในกลุ่มประเทศโอเปค ยังเกิดจากความพยายามใช้น้ำมันเป็นอาวุธทางการเมือง ของประเทศผู้ผลิตในกลุ่มอาหรับอีกด้วย การใช้น้ำมันเป็นอาวุธทางการเมืองครั้งสำคัญ ได้แก่ เมื่อผู้ผลิตในกลุ่มอาหรับนำโดยซาอุดิอาระเบียงดขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2516-2517 เพื่อจะทำโทษสองประเทศนั้น ที่ช่วยเหลืออิสราเอลในระหว่างสงครามตะวันออกกลาง ในปี พ.ศ. 2516 ฉะนั้นประเทศอาหรับจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อยขึ้นมาอีก เรียกว่า องค์การของประเทศอาหรับผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Arab Petroleum Exporting Countries : OAPEC)
การรวมกลุ่มกันเพื่อแสวงหา และรักษาผลประโยชน์ เป็นของธรรมดาไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หรือในระดับประเทศ ผู้ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ๆ ในกลุ่มของประเทศด้อยพัฒนา มองเห็นความสำคัญของข้อนี้ จึงเริ่มรวมตัวกันตั้งองค์การถาวรขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 และใช้ชื่อว่า Organization of Petroleum Exporting Countries (OPEC) โดยมีสมาชิกก่อตั้ง คือ เวเนซุเอลา อิหร่าน อิรัก คูเวต และซาอุดิอาระเบีย และประเทศอื่นเข้าร่วมในเวลาต่อมา ได้แก่ กาตาร์ (2504) อินโดนีเซีย และลิเบีย (2505) สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ (2510) แอลจีเรีย (2512) ไนจีเรีย (2514) เอกวาดอร์ (2516) และกาบอง (2518) เอกวาดอร์ลาออกในปี พ.ศ. 2535 ตามด้วยกาบอง ในปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันองค์การนี้จึงมีสมาชิก 11 ประเทศ
ประเทศในกลุ่มโอเปคมีบทบาทสำคัญต่อการกินดีอยู่ดีของชาวโลก เพราะมีน้ำมันดิบรวมกันถึง 75% ของน้ำมันดิบที่ค้นพบแล้วในโลก และสูบขึ้นมาเป็นจำนวน 40% ของน้ำมันที่ผลิตทั่วโลก หน้าที่ใหญ่ของโอเปคในการรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก ได้แก่ การประสานนโยบายในการผลิต และการตั้งราคาน้ำมันดิบ และการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางเทคนิคแก่กันและกัน ตามปกติสมาชิกจะร่วมประชุมกันปีละสองครั้ง ตอนก่อตั้งใหม่ๆ งานใหญ่ขององค์การนี้ ได้แก่ การต่อรองกับบริษัทผลิตน้ำมันข้ามชาติใหญ่ ๆ ซึ่งมีอยู่ 7 บริษัท คือ Exxon, Mobil, Texacon, ARCO, Standard Oil of Indiana, British Petroleum และ Royal Dutch Shell เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก ต่อมาเมื่อประเทศสมาชิกโอเปคยึดบ่อน้ำมันและยึดสาขาบริษัท ซึ่งผลิตน้ำมันในประเทศของตนมาเป็นของรัฐ องค์การนี้มีบทบาทในการตั้งราคาน้ำมันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเวลา 10 ปีกว่าหลังจากก่อตั้งองค์การ น้ำมันดิบในตลาดโลกมีอย่างมากมาย องค์การนี้จึงไม่สามารถขึ้นราคาน้ำมันดิบได้ จนมาในปลายปี พ.ศ. 2516 เมื่อน้ำมันเริ่มขาดตลาด ประเทศเหล่านี้จึงขึ้นราคาน้ำมันดิบ 70% ในเดือนตุลาคม หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เช่น ซาอุดิอาระเบีย ประกาศ งดขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ตามข้อกล่าวหาว่าสองประเทศนั้นสนับสนุนอิสราเอลในสงครามกับฝ่ายอาหรับในปีนั้น ทำให้เกิดภาะน้ำมันขาดตลาดอย่างร้ายแรง สมาชิกขององค์การนี้จึงขึ้นราคาน้ำมันดิบอีก 130% ในเดือนธันวาคม ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับใหม่มาจนถึงปี พ.ศ. 2522 เมื่อการปฏิวัติล้มบัลลังก์พระเจ้าซาห์ของอิหร่าน และในปีต่อมา เมื่ออิรักโจมตีอิหร่าน ก่อให้เกิดภาวะน้ำมันขาดแคลนครั้งใหญ่อีกหน ผู้ผลิตน้ำมันจึงสามารถขึ้นราคาน้ำมันได้อีกราวสามเท่าตัว
การขึ้นราคาน้ำมันครั้งละมากๆ เช่นนี้ สร้างความร่ำรวยให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างมหาศาล และในขณะเดียวกัน มันก็สร้างความเดือดร้อนไปทั่วทุกระแหงในโลก น้ำมันราคาแพงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายอย่างในประเทศที่ต้องซื้อน้ำมันใช้ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบแก่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเองในที่สุด ผลกระทบอาจแยกคร่าว ๆ ได้ดังนี้
1. น้ำมันราคาแพง ทำให้เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก เศรษฐกิจถดถอยทำให้ความต้องการน้ำมันน้อยลง
2. น้ำมันราคาแพง ทำให้ผู้บริโภคประหยัด ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง
3. น้ำมันราคาแพง ทำให้ผู้บริโภคพยายามใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่นแทน เช่น ถ่านหิน และพลังนิวเคลียร์ ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง
4. น้ำมันราคาแพงในกลุ่มประเทศโอเปค ทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้อจากแหล่งที่ถูกกว่า เช่น เม็กซิโก และรัสเซีย กระตุ้นให้ประเทศเหล่านั้นเร่งลงทุนผลิตน้ำมันมากขึ้น
5. น้ำมันราคาแพง ทำให้บริษัทผู้ผลิตน้ำมันเร่งหาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ทำให้น้ำมันในตลาดโลกมีมากขึ้น
6. น้ำมันราคาแพง ทำให้บ่อน้ำมันบางแห่ง ที่ต้องปิดไปเพราะมีต้นทุนการผลิตสูง กลับมาผลิตน้ำมันอีก เป็นการเพิ่มน้ำมันในตลาดโลก
ภาวะเช่นนี้ ก่อให้เกิดน้ำมันล้นตลาด สร้างความกดดันให้ผู้ผลิตต้องลดราคา เพื่อแข่งกันขาย ฉะนั้นหลังจากน้ำมันดิบขึ้นราคาไม่นาน เมื่อเกิดการปฏิวัติในอิหร่านและเกิดสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็เริ่มตก ในภาวะเช่นนี้ กลุ่มประเทศโอเปคไม่สามารถจะคุมราคาได้ ในทางตรงกันข้ามสมาชิกเริ่มทะเลาะกันเองหลังจากสมาชิกตกลงลดการผลิตของตนเพื่อจะพยุงราคาให้สูงไว้ แต่สมาชิกบางประเทศมีค่าใช้จ่ายมาก จึงลักลอบผลิตน้ำมันเกินพิกัดที่ได้รับจากองค์การ เมื่อหลายประเทศทำเช่นนั้น น้ำมันดิบในตลาดโลกจึงไม่ลดลงเท่าที่โอเปคต้องการ ทำให้ราคาตกลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การผลิตน้ำมันเกินพิกัดของคูเวต เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถูกอิรักโจมตีในปี พ.ศ. 2533 เพราะอิรักอ้างว่าคูเวตต้องการให้ราคาน้ำมันตก เพื่อเป็นบ่อนทำลายอิรัก ซึ่งต้องการเงินเป็นจำนวนมากเพื่อรื้อฟื้นเศรษฐกิจของตนหลังจากสงคราม 8 ปีกับอิหร่าน ซึ่งยุติลงในปี พ.ศ. 2531
นอกจากจะหักหลังกันเองแล้ว ความขัดแย้งในกลุ่มประเทศโอเปค ยังเกิดจากความพยายามใช้น้ำมันเป็นอาวุธทางการเมือง ของประเทศผู้ผลิตในกลุ่มอาหรับอีกด้วย การใช้น้ำมันเป็นอาวุธทางการเมืองครั้งสำคัญ ได้แก่ เมื่อผู้ผลิตในกลุ่มอาหรับนำโดยซาอุดิอาระเบียงดขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2516-2517 เพื่อจะทำโทษสองประเทศนั้น ที่ช่วยเหลืออิสราเอลในระหว่างสงครามตะวันออกกลาง ในปี พ.ศ. 2516 ฉะนั้นประเทศอาหรับจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อยขึ้นมาอีก เรียกว่า องค์การของประเทศอาหรับผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Arab Petroleum Exporting Countries : OAPEC)
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก
(Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC)
เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นจากการประชุมรัฐมนตรีของประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและทางการค้าของภูมิภาคของโลก
2. พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีและสนับสนุนผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยประสบผลสำเร็จ
3. ศึกษาลู่ทางในการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาค ในลักษณะที่มิใช่การรวมกลุ่มทางการค้าที่กีดกันประเทศนอกกลุ่ม (Open Regionalism)
4. ขยายความร่วมมือสาขาเศรษฐกิจที่สนใจร่วมกัน
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการไหลเวียนสินค้า บริการ ทุน และเทคโนโลยีระหว่างกันโดยเสรี สอดคล้องกับกฎของแกตต์ (ในสมัยนั้น)
หลักการของความร่วมมือ
1. เป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือ (Consultative Forum) ที่เกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจ
2. ยึดหลักฉันทามติ (Consensus) ในการดำเนินการใดๆ โดยยอมรับความเสมอภาคของประเทศสมาชิก
3.ยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกันโดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระบบสังคมและการเมืองของประเทศสมาชิก
เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นจากการประชุมรัฐมนตรีของประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและทางการค้าของภูมิภาคของโลก
2. พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีและสนับสนุนผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยประสบผลสำเร็จ
3. ศึกษาลู่ทางในการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาค ในลักษณะที่มิใช่การรวมกลุ่มทางการค้าที่กีดกันประเทศนอกกลุ่ม (Open Regionalism)
4. ขยายความร่วมมือสาขาเศรษฐกิจที่สนใจร่วมกัน
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการไหลเวียนสินค้า บริการ ทุน และเทคโนโลยีระหว่างกันโดยเสรี สอดคล้องกับกฎของแกตต์ (ในสมัยนั้น)
หลักการของความร่วมมือ
1. เป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือ (Consultative Forum) ที่เกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจ
2. ยึดหลักฉันทามติ (Consensus) ในการดำเนินการใดๆ โดยยอมรับความเสมอภาคของประเทศสมาชิก
3.ยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกันโดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระบบสังคมและการเมืองของประเทศสมาชิก
จากที่กล่าวมาข้างต้น
องค์กร และความร่วมมือ ระหว่างประเทศ ทั้งในระดับ โลก และระดับภูมิภาค
ล้วนส่งผลต่อกลไก กระบวนการในการเคลื่อนไหว ให้ระบบโลก สามารถ เคลื่อนไหว ไปได้
ภายใต้กรอบการพัฒนาภายใต้โลกาภิวัตน์ องค์กรหรือความร่วมมือระหว่างประเทศ เหล่านี้
เป็นเสมือน กาว ที่เชื่อมต่อ ประสาน ผลประโยชน์ ของชาติสมาชิก ต่างๆ เข้าด้วยกัน
ภายใต้ ความวุ่นวาย ที่ผลประโยชน์ ของแต่ละชาติ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ
ในเวทีการเมืองระดับโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น